การบูรณาการบทเรียนออนไลน์แบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานการณ์วิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • ธัชพนธ์ สรภูมิ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สถานการณ์วิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์วิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยการบูรณาการบทเรียนออนไลน์เข้ามาประยุกต์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อการตอบสนองต่อการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันโดยการผสมผสานแนวการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ 1) การบูรณาการเนื้อหากับการใช้สื่อแอปพลิเคชัน ที่เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยช่องทางการสื่อสารบทเรียนออนไลน์ เพื่อพัฒนาบทเรียนและรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ของครูไปสู่ผู้เรียนด้วยวิธีออนไลน์เป็นการเรียนรู้ในรูปแบบที่ยังคงเนื้อหาทฤษฎี อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะช่วยเสริมการจัดการเรียนรู้ให้มีความเป็นรูปธรรม น่าสนใจ แล้วนำเนื้อหาการเรียนรู้ถ่ายทอดผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก ทำให้การจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพและเป็นเครื่องมือการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ ในการสร้างองค์ความรู้ โดยที่ครูเป็นผู้เลือกใช้แอปพลิเคชันในการสื่อสารกับผู้เรียนและครูเป็นผู้มีทักษะความรู้เป็นอย่างดี และยังเป็นผู้อำนวยความสะดวกกระตุ้นเร้าใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในการถ่ายทอดเนื้อหาตามหลักการกระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะช่วยในการจัดการเรียนรู้โดยปราศจากการเผชิญหน้ากันระหว่างครูกับผู้เรียน เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เป็นอย่างดี จึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือ วิธีการสำคัญที่ช่วยพัฒนาทักษะวิธีการจัดการเรียนรู้ให้แก่ครู และพัฒนาทักษะการเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

References

กมล โพธิเย็น. (2564). การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1),11-28.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). ETDA เผย ปี 63 ETDA เผยผลสำรวจ IUB 63 คนไทยใช้เน็ตปังไม่ไหวเกือบครึ่งวัน โควิด-19. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

กฤตย์ษุพัช สารนอก และธัชพนธ์ สรภูมิ. (2563). รูปแบบการเรียนการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยเทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีไอซีที เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้บนฐานความเข้าใจต่างวัฒนธรรม สำหรับผู้เรียนระดับอุดมศึกษา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ครั้งที่ 5 (น. 231-238). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, ประเทศไทย.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ.(2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประจำเดือนพฤศจิกายน 2553.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา: บทบาทของครูกับ Active Learning. สืบค้นจาก http://www.nitednayok.com/data/Active%20learning.pdf

ธันยวิช วิเชียรพันธ์. (2564). SPUC TALK มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชลบุรี. สืบค้นจาก https://www.chonburi.spu.ac.th/gallery/viewGallery/12661/

นัทธีรัตน์ พีระพันธุ์ (2563). การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษาของครูตามแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://researchcafe.org/communications-technology-competencies-for-thai-teachers-in-the-21st-century/

เยาวเรศ ภักดีจิตร, บังอร ทิวาพรภานุกูล และทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์. (2563). รูปแบบการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสรรค์สร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 14(3), 159-172.

รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษฏิ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331-343.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการจัดการเรียนรู้. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning. สืบค้นจาก https://km.buu.ac.th/article/frontend/article_detail/141

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2564 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

Beane, J. (1991). The Middle School: The Natural Home of Integrated Curriculum. Educational Leadership, 49(2), 9-13.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED336049.pdf

Heinich, R., Molenda, M., Russell, J.D. & Smaldino, S. (1999). Instructional Media and Technologies for Learning (6th ed). Columbus, OH: Prentice-Hall.

Mishra, P. & Koehler, M.J. (2006). Technology pedagogical content knowledge: A Framework for Teacher Knowledge. Teacher College Record.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |