ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุท้องถิ่นที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
เกมการศึกษาจากวัสดุท้องถิ่น, ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุท้องถิ่น เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Design) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุ 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ มี 2 ห้องเรียน จำนวน 35 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย - หญิง อายุ 5 – 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทุ่งใหญ่ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้วิธีจับสลากเลือกมา 1 ห้องเรียน จาก 2 ห้องเรียน ทุกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จำนวน 17 คน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้โรงเรียนไม่สามารถเปิดเรียนแบบปกติได้ มีการใช้รูปแบบการเรียนที่หลากหลาย ผู้ปกครองมีความกังวลกับการแพร่ระบาด เพราะเห็นว่าเด็กยังไม่ได้รับวัคซีน เพื่อให้การวิจัยดำเนินการต่อได้ ผู้วิจัยจึงได้ประสานกับผู้ปกครองชี้แจงแผนการดำเนินงานรวมถึงมาตรการรักษาความปลอดภัย ปรากฏว่ามีผู้ปกครองและเด็กที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรมให้ผู้วิจัยไปจัดกิจกรรมที่บ้านได้ จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 70.59 ของจำนวนเด็กที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้แจ้งมาตรการป้องกันแก่ผู้ปกครอง คือ การเว้นระยะห่าง วัดอุณหภูมิ ใช้เจลล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยใช้การทดลองกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองตามแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุท้องถิ่น จำนวน 25 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 – 1.00 และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.96 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.33 – 0.78 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 – 0.77 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัย พบว่า หลังการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากวัสดุท้องถิ่นเด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เด็กไทยมีไอคิวต่ำลงจริงหรือ?. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2273
กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กันตวรรณ มีสมสาร และกัญจนา ศิลปะกิจยาน. (2561). การพัฒนาเด็กปฐมวัยในยุค 4.0. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(1), 171-178.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2547). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.
จิราพร นิลมุก. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ด้วยกระบวนการวิจัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, พิษณุโลก.
ดวงใจ ทัดมาลา. (2559). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเล่านิทาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
นิตยา ประพฤติกิจ. (2541). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศุภางค์จิต พันธ์เทศ. (2556). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อการรู้ค่าจำนวนของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย พุทธศักราช 2546. สมุทรปราการ: แอดวานซ์เซอร์วิช.
สุมารีย์ ไชยประสพ. (2558). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษา โรงเรียนโป่งน้ำร้อนวิทยา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สุพิชชา ทับภูมิ. (2560). การเรียนรู้โดยการลงมือทำ. สืบค้นจาก http://supitcha044.blogspot.com/p/blog-page_12.html
สุพิชฌาย์ ทนทาน. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
อรพรรณ ภาคธรรม. (2556). ผลของการใช้กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่มีต่อทักษะทางคณิตศาสตร์เรื่องแบบรูปและความสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
อัญชลี ไสยวรรณ. (2553). เอกสารประกอบการบรรยายคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2557). การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pre-math skills). กรุงเทพฯ: สถาบันราชนุกุล, กรมสุขภาพจิต, กระทรวงสาธารณสุข.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.