การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคม ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • ผ่องอำไพ หมั่นคง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคม, องค์ประกอบ, ตัวบ่งชี้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ทดสอบความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบ ต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3) ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดองค์ประกอบและตัวบ่งชี้นำมาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเชื่อมั่น 0.96 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดศรีษะเกษ และจังหวัดยโสธร จำนวน 50 แห่ง นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) เพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวบ่งชี้ให้ถูกต้องโดยยืนยันจากค่าสถิติ เพื่อลดจำนวนตัวแปรของตัวแปรย่อยและหมุนแกนแบบตั้งฉากด้วยวิธีแวร์ริแมกซ์ (Varimax Rotation) จากนั้นได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการข้างต้นมาสร้างแบบสอบถามและนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด (Known Groups) ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพโพธิ์ทอง และวิทยาลัยการอาชีพปัตตานี ซึ่งเป็นสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทานระดับอาชีวศึกษา 3 ครั้งซ้อน ในรอบ 10 ปี จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้จากเกณฑ์การประเมินระดับมาก (  = 3.51) โดยใช้สถิติ t-test  

ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ  การอาชีวศึกษา ประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ 88 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ ได้ร้อยละ 69.65 และจากการนำตัวบ่งชี้ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ และสามารถยืนยันได้ว่า ตัวบ่งชี้ ทั้ง 88 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพ

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, กระทรวงอุตสาหกรรม, (2563). ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการ (CSR-DIW) พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://reg3.diw.go.th/eco/wp-content/uploads/2020/08/Responsibility.pdf

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). แนวปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบต่อสังคมหลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ และหลักความเสมอภาค. สืบค้นจาก https://www.ops.go.th/th/rules-driven/item/6693-LAW2

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. กรุงเทพฯ: เมจิกเพรส.

ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

ภาณุมาศ หอมบุญยงค์. (2564). แนวทางการพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในจังหวัดสมุทรสงคราม. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 156-168.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2551). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: ไอคอนพรินติ้ง.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. กรุงเทพฯ: เมจิกเพรส.

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565ก). สถาบันไทยพัฒน์กับงานด้านบรรษัทภิบาล. สืบค้นจากhttps://www.thaicsr.com/2012/01/blog-post_30.html

สถาบันไทยพัฒน์ มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2565ข). มณฑลแห่งความยั่งยืน. สืบค้นจาก https://www.thaicsr.com/2021/01/sphere-of-sustainability.html

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2561). ธรรมาภิบาล และความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2552). ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาว่าด้วยการบริหารสถานศึกษา. สืบค้นจาก http://www.spc.ac.th/spc/Planning_and_cooperation_department/Planning_and_budgeting_work/Office_of_the_Vocational_Education_Commission_on_Educational_Administration_Regulations_-_2009.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อัญชลี ทองประกอบ. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Lindeman, R. H., Merenda, P. F., & Gold, R. Z. (1980). Introduction to Bivariate and Multivariate Analysis. Glenview, IL: Scott, Foresman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-05-01

How to Cite

Share |