การศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • พรชัย ไผ่ปาน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ฉลอง ชาตรูประชีวิน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความต้องการ, แนวทางการพัฒนา, การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการและแนวทางในการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยวิธีดำเนินการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ และเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 74 คน จำแนกเป็น หัวหน้าเจ้าหน้าที่ 37 คน และเจ้าหน้าที่ 37 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนพบว่า ขั้นตอนพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ขั้นตอนข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด และขั้นตอนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ขั้นตอนการจัดทำและประกาศผู้ชนะเสนอราคา อยู่ในระดับมาก และ 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ พบว่า หัวหน้าเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานพัสดุควรมีการสำรวจความต้องการในการใช้พัสดุ โดยให้ผู้ใช้พัสดุมีส่วนร่วมในการกำหนดคุณลักษณะ และกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการเพิ่มเติมจากระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างมีความถูกต้อง โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ เป็นไปตามระเบียบที่กำหนด โดยต้องมีการจัดทำเอกสารประกาศผลผู้ชนะอย่างถูกต้องชัดเจน อีกทั้งเลือกใช้รูปแบบของสัญญาที่สอดคล้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง มีการตรวจสอบหลักประกันสัญญา และข้อมูลสาระสำคัญก่อนนำแสดงบนเว็บไซต์ รวมทั้งมีการรวบรวมเอกสารหลักฐานส่งเบิกจ่ายเงินตรงตามสัญญา เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง

References

กองตรวจสอบภาครัฐ, กรมบัญชีกลาง. (2559). แนวทางการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding). สืบค้นจาก http://www.fpo.go.th/main/getattachment/Department/Internal-Audit-Group/

กิตติมา ศรีสิงห์. (2561). การพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานพัสดุของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

จุไลรัตน์ ผดุงกิจ และภานุมาศ ชาติประเสริฐ. (2563). ปัญหาการปฏิบัติงานในการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของเจ้าหน้าที่พัสดุในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการเมืองการปกครอง, 10(2), 240-253.

ชุติมา สรรพโส. (2562). สภาพและปัญหาการดำเนินงานพัสดุผ่านระบบสารสนเทศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2561). การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ : หลักการ เหตุผล และวิธีการ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

นภาพร เฉลิมลาภ. (2550). ปัญหาและแนวทางแก้ไขการจัดซื้อจัดและการจัดจ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ สังกัดสำนักทางหลวงชนบทที่ 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บัญญัติ สุขศรีงาม. (2542). จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 39-42.

ปิยะวรรณ เวชสุวรรณ. (2563). การพัฒนาคู่มือการใช้งานโปรแกรมการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

พรรณภา เรือนแปง. (2559). การปฏิบัติงานในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานสังกัดกรมชลประทานในจังหวัดลำปาง (สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. (2560, 23 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 210 ง, 1-72.

วันทนีย์ แสนภักดี, พรทิพย์ วีระสวัสดิ์, และธิดา พาหอม. (2553). การจัดการพัสดุและสำนักงาน. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

ศิริพร สิทธิวงศ์. (2560). การบริหารงานด้านงบประมาณของโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนบูรพาศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30. (2562). บันทึกข้อความรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. ชัยภูมิ: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 30.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. (2563). บันทึกข้อความรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. นครสวรรค์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42

สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

สุภารัตน์ บาลนาคม. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานพัสดุในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

สุวัช มูลเมืองแสน. (2563). สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานพัสดุในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตตรวจราชการที่ 11 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |