การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน

ผู้แต่ง

  • นลพรรณ ไชยชารี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชานนท์ จันทรา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วันดี เกษมสุขพิพัฒน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์, การสอนแนะให้รู้คิด, เกมมิฟิเคชัน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์, การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิด  เกมมิฟิเคชัน และ 3) ศึกษาทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 45 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จากทั้งหมด 2 ห้องเรียน โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ธนบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้   วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยเป็นข้อสอบปรนัยแบบเลือกตอบ  4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และแบบเติมคำตอบ 5 ข้อ และแบบทดสอบวัดทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ โดยเป็นข้อสอบอัตนัยที่ให้นักเรียนแสดงแนวคิดและวิธีทำอย่างละเอียด จำนวน 4 ข้อ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบ one-sample t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน สำหรับการพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 นำเสนอปัญหา ขั้นที่ 2 ปฏิบัติกิจกรรม ขั้นที่ 3 นำเสนอ และ    ขั้นที่ 4 สรุป 2) นักเรียน ส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ หลังใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ หลังใช้การสอนแนะให้รู้คิดร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลชัย กุลตวนิช และรัตตมา รัตนวงศา. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นและทัศนคติต่อแนวคิดเกมมิฟิเคชันของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. ใน การประชุมวิชาการ ปอมท.ประจำปี 2559 และการประชุมวิชาการ “การวิจัยระบบการศึกษาไทย” (CRTES) ครั้งที่ 1. (น.97-104). กรุงเทพฯ, สภาคณาจารย์และพนักงานสถาบันเทคโนโลยีคุณทหารพระจอมเกล้าลาดกระบัง, ประเทศไทย.

กุลวดี อาภาวงษ์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(72), 147-154.

วชิราพร ภักค์คุณพันธ์. (2561). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้และสิ่งประดิษฐ์ ครั้งที่ 2. (น.206-215). ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ประเทศไทย.

สถาบันส่งเส ริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: 3-คิว มีเดีย.

สุนีย์ ค่ำควร, คงรัฐ นวลแปง และเวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ที่มีต่อทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(2), 245-259.

สุธารัตน์ สมรรถการ. (2556). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบแนะให้รู้คิด (CGI) เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหา และความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aunganapattarakajohn, V. (2010). Cognitively Guided Instruction: A Model of Mathematics Instruction. Journal of Education Burapha University, 21(1), 2-4.

Carpenter, T. P., Fennema, E., Franke, M. L., Levi, L., & Empson, S. B. (2000). Cognitively Guided Instruction: A Research-based Teacher Professional Development Program for Elementary School Mathematics. Retrieved from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED470472.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |