การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • วิภาสิณี ปานมะเริง คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ, องค์ประกอบและตัวบ่งชี้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามโครงสร้างขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ และ 3) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 950 คน จากผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น 10 เท่าของตัวบ่งชี้ ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) โดยพิจารณาจากค่าไอเกนในแต่ละองค์ประกอบหลัก สกัดปัจจัยโดยหมุนแกนออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ สร้างเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่า ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.470-0.935 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.922 การวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบและตัวบ่งชี้เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำค่าเฉลี่ยมาทดสอบ (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 มีจำนวน 10 องค์ประกอบ 83 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนาตนเอง (2) ด้านบุคลิกภาพที่ดี (3) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ (4) ด้านการสร้างแรงบันดาลและคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล (5) ด้านการสื่อสารและกาบริหารงานอย่างเป็นระบบ (6) ด้านเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามกลไกของระบอบประชาธิปไตย (7) ด้านมีวิสัยทัศน์ (8) ด้านคุณธรรมของผู้บริหาร (9) ด้านจริยธรรมของผู้บริหาร และ (10) ด้านจรรยาบรรณในวิชาชีพของผู้บริหาร และมีร้อยละสะสมของความแปรปรวน 64.58 2) ผลการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent Validity) พบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ ค่าเฉลี่ยมีความแตกต่างจากเกณฑ์ระดับมากทุกตัวบ่งชี้ (µ= 3.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ที่ค้นพบทั้ง 83 ตัวบ่งชี้ มีความเที่ยงตรงตามสภาพทุกตัว 3) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้แล้วนำ มาสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ พบว่า มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.470-0.935 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.922 นำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา

References

กัลยา วานิชบัญชา. (2551). การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กานต์ บุญศิริ. (2557). ภาวะผู้นำกับการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(1), 1-16.

ชลนที พั้วสี และ สุภาวดี ลาภเจริญ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ในกลุ่มสหวิทยาเขตศรีนครินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(2), 56-64.

ไชยา ภาวะบุตร. (2555). หลักทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทองทิพภา วิริยะพันธุ์. (2550). มนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

นเรศ ล้ำเลิศวัฒนา และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแพร่. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 10(1), 53-61.

นิตยา ทองไทย. (2558). คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท สิงห์บุรีและอ่างทอง. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 9(1), 35-44.

พรปวีณ์ ไกรบำรุง, สมบูรณ์ ตันยะ, สงวนพงศ์ ชวนชม, และ วรสิทธิ์ รัตนวราหะ. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 119-131.

พระมหาเสาร์คำ จันทร์ธิยะ. (2554). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรม (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

รัตติมา พานิชอนุรักษ์. (2557). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้อำนวยการกลุ่มในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.

สัจกาณฑ์ คเชนทร์พนาไพร. (2560). ตัวบ่งชี้จรรยาบรรณวิชาชีพครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, นครปฐม.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อรวรรณ เปรมบำรุง. (2557). คุณลักษณะความเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

Mcgregor, D. (1960). The Human Side of Enterprise. New York: McGraw-Hill.

Shah, M. (2014). Impact of Management Information Systems (MIS) on School Administration: What the Literature Says. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 2799-2804.

Yukl, G. A. (1998). Leadership in Organization (4th ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |