การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตร, การอ่านเชิงวิเคราะห์, วิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนนานาชาติยูนิตี้ คอนคอร์ด จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หลักสูตรฯ 2) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ และ 3) แบบทดสอบวัดการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างและหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.51, S.D.= 0.62) คู่มือการใช้หลักสูตรฯ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของคู่มือการใช้หลักสูตรฯ อยู่ในระดับ มากที่สุด (= 4.52, S.D.= 0.59) ผลการหาประสิทธิภาพของหลักสูตรหลักสูตรส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยวิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพอยู่ที่ 82.38/85.75 การศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการอ่านเชิงวิเคราะห์ โดยใช้วิธีสอนแบบ เอส คิว ห้า อาร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัณนิฐา ไกรนรา, ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์, และศศิธร กาญจนสุวรรณ. (2560). ผลการใช้วิธีสอนอ่านแบบ SQ5R ร่วมกับนิทาน พื้นบ้านจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเครือข่ายสินปุน-ตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(1), 177-189.
ปกรณ์ ประจัญบาน. (2552). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evaluation). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรทิพย์ แข็งขัน และเฉลิมลาภ ทองอาจ. (2553). โมเดล 5 โมเดล การจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อพัฒนากระบวนการคิดในคู่มือฝึกอบรมภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Pauk, W. (1997). SQ5R Study Technique. Retrieved from http://www.mhhe.com/cls/psy/Ch7/sq5r.mhtml
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.