การศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • กิตติภพ ภวณัฐกุลธร โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 (2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ (3) เพื่อพยากรณ์ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 220 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 44 คน หัวหน้าประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 44 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล และ 2) แบบสอบถามการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แบบสอบถามมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับเท่ากับ 0.94 และ 0.93 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และ 3) อิทธิพลภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 สามารถพยากรณ์การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สามารถทำนายได้ร้อยละ 82.00 โดยสามารถสร้างสมการพยากรณ์ทั้งในรูปของคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้      

สมการในรูปคะแนนดิบ

gif.latex?\hat{y}= .742* +.357**(X3) + .289**(X1) + .204**(X2) + .188*(X4) + .128*(X5)

สมการในรูปคะแนนมาตรฐาน

gif.latex?\hat{Z} = .545** (X3) + .459** (X1) + .333** (X2) + .280*(X4) + .158*(X5)

References

กาญจนา แสงสารพันธ์ (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

เกศรา สิทธิแก้ว. (2558). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2562). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.

จำรัส นองมาก. (2554). ปฏิบัติการประเด็นคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ซันพริ้นติ้ง.

ณพัฐธิกา ปิติเลิศศิริกุล และนิรุทธ์ นันทมาศวังนรา. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โรงเรียนกลุ่มบันนังสตา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 137-148.

ณภัทรารัตน์ ศรีเจริญ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ทิพราภา ปรางมุข. (2560). บทบาทของครูในการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: เอกซเปอร์เน็ท.

ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ไพศาล หวังพานิช. (2560). วิธีการวิจัย. เอกสารประกอบการสอน. นครราชสีมา: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

รุจิรา สุนทรีรัตน์. (2564). ข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาโครงสร้างของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษารองรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วิเชียร ทองคลี่. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

ศิริพงษ์ กลั่นไพฑูรย์. (2564). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพฯ: กลุ่มนโยบายและแผน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |