ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
คำสำคัญ:
ปัจจัยเชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลของสถานศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) สร้างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) สร้างแนวทางในการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา มีขั้นตอนในการทำวิจัย 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 103 แห่ง ได้มาด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 206 คน ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล (2) สร้างแนวทางในการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาด้วยการสนทนากลุ่ม และประเมินความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และความพึงพอใจของครูและบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวและพัฒนา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัยพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และรองลงมา
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 6 ปัจจัย ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม บรรยากาศโรงเรียน พฤติกรรมการสอนของครู ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความผูกพันต่อองค์การ 3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่า โมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 0.35 ชั้นความอิสระ (df) เท่ากับ 1 ที่ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.55 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ 0.00 และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 36 โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษามากที่สุดคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม รองลงมา ได้แก่ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการสอนของครู 4) แนวทางการพัฒนาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายแนวทาง พบว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพมีค่าความเหมาะสมสูงที่สุด รองลงมาคือ การบริหารแบบมีส่วนร่วม ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการสอนของครู โดยทุกแนวทางมีองค์ประกอบ ดังนี้ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ วิธีการพัฒนา ตัวชี้วัดและผู้รับผิดชอบ
References
กนกพร รัตนะอุดม และอำนวย ทองโปร่ง. (2565). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตเสรีไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2, สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(1), 13-24.
กมลนัทธ์ นะราวงศ์. (2560). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัย, 11(3), 40-52.
จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2560). ครูและนักเรียนในยุคการศึกษาไทย 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL), 7(2), 14-29.
ธนพล อาจจุฬา, ชูเกียรติ วิเศษเสนา, สงวนพงศ์ ชวนชม, และ สมบูรณ์ ตันยะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(1) 59-70.
ธนัญญพัฒน์ ฤาชา. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, กรุงเทพฯ.
นงเยาว์ อุทุมพร. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
นฤมล เจริญพรสกุล. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 107-118.
เนตรนภา เจตน์จํานงค์. (2564). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
พันธกานต์ สกุลทอง. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, ศรีษะเกษ.
พิสชา สถาพรบำรุงเผ่า. (2560). แนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตอาสาของนักเรียนสถาบันการอาชีวศึกษาในภาคตะวันวันออกเฉียงเหนือ 5. วารสารชุมชนวิจัย, 11(3), 110-125.
พิสิษฐ์ คงผดุง. (2556). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
วัชรภัทร เตชะรัตนะศิริดำรง. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการนวัตกรรมในชั้นเรียนของครูโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง, สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(2), 40-50.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). บทวิเคราะห์การศึกษาไทยในโลกศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2(4), 1-3.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). สมรรถนะการศึกษาไทยในเวทีสากล พ.ศ. 2558 (IMD2015). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
โสภิณ ม่วงทอง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก (ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
Akhter, S., Saha, S. P., & Mahfuz, I. (2019). Participative Management and Job Satisfaction: A Case of Bangladesh. World Journal of Management, 10(1), 45-56.
Hallam, P. R., Smith, H. R., Hite, J. M., Hite, S. J., & Wilcox, B. R. (2015). Trust and Collaboration in PLC Teams: Teacher Relationships Principal Support and Collaborative Benefits. NASSP Bulletin, 99(3), 193-216.
Porter, L. W., Bigley, G. A., & Steers, R. M. (2003). Motivation and Work Behavior (7th ed.). New York: McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.