ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2

ผู้แต่ง

  • ประกาย ลครราช คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ชัยยนต์ เพาพาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา, ความเป็นนวัตกรของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นนวัตกรของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรของครู และ 4) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2  จำนวน 300 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบเคียงของ Krejcie & Morgan (1970) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า(Rating Scale) 5 ระดับ และมีค่าความเชื่อมั่นทั้ง 2 ฉบับ ดังนี้ ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.804 และความเป็นนวัตกรของครู เท่ากับ 0.783 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำ ได้ดังนี้ การแก้ปัญหา การกำหนดวิสัยทัศน์ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการทำงานเป็นทีม ตามลำดับ 2) ความเป็นนวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำได้ ดังนี้ พฤติกรรมเชิงนวัตกรรม ทัศนคติเชิงนวัตกรรม และความสามารถเชิงนวัตกรรม ตามลำดับ 3) ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นนวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ rxy = 0.871)  ทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นนวัตกรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2 ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ การแก้ปัญหา (X4) การทำงานเป็นทีม (X3) และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (X2) ร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 79.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

               สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

              gif.latex?\hat{Y}= .574 + .435X4 + .292X3 + .148X2

               สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

              gif.latex?\hat{Z} = .473ZX4 + .314ZX3 + .154ZX2

References

โกศล ภูศรี. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นนวัตกรของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จันทกานติ์ ตันเจริญพานิช และนิตยา เงินประเสริฐศรี. (2550). ทิศทางการพัฒนาภาวะผู้นำภาครัฐของไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 33(1), 82-90.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2557). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์ พับลิสซิ่ง.

ธัญวรัตม์ สิงห์จู และดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้การเป็นโรงเรียนนวัตกรรม: การบูรณาการการวิเคราะห์ข้ามกรณีและการย้อนรอยกระบวนการ. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 219-234.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พัชรพร อยู่ยืน, อภิญญา ภูมิโอตา, และศิระ ศรีโยธิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นนวัตกร : กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ PUNN. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0. (น.827-833). กรุงเทพ, ประเทศไทย.

วสันต์ สุทธาวาศ และธีระวัฒน์ จันทึก. (2559). วิธีพัฒนาศักยภาพความเป็นนวัตกรการศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 949-968.

วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 281-300.

ศรัญญา น้อยพิมาย. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 2. (2563). แผนปฏิบัติการงบประมาณประจำปี 2563. สืบค้นจาก http://www.yst2.go.th/web/?page_id=12888

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานนายกรัฐมนตรี.

สุนทร พลวงศ์. (2551). การศึกษาการทำงานเป็นทีมโดยใช้กิจกรรม 5 ส. ในการบริหารงาน อาคารสถานที่ ของโรงเรียนบ้านหนองหัวหมู อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สุรีพร พึ่งพุทธคุณ. ผู้แปล. (2550). การบริหารจัดการทีมงาน : รวมทักษะที่สำคัญของผู้นำทีมงานที่เป็นเลิศในทุกองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชตภาคย์, 15(40), 33-42.

Dyer, J. G., & McGuinness, T. M. (1996). Resilience: Analysis of the Concept. Archives of Psychiatric Nursing, 10(5), 276-282.

Furr, N., Dyer, J., & Christensen, C. M. (2014). The Innovator's Method: Bringing the Lean Startup into Your Organization. United States: Harvard Business School Press.

Jaskyte, K., Taylor, H., & Smariga, H. (2009). Student and Faculty Perceptions of Innovative Teaching. Creativity Research Journal, 21(1), 111-116.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lynch, B. K., & McNamara, T. F. (1998). Using G-theory and Many-Facet Rasch Measurement in the Development of Performance Assessments of the ESL Speaking Skills of Immigrants. Language Testing, 15(2), 158-180.

Wiggins, G., & McTighe, J. (2005). Understanding by Design. New Jersey: Pearson Merrill Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |