การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ปัจจัยที่ส่งผล, ภาวะผู้นำแบบให้บริการ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 และ 4) เพื่อสร้างแนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 50 ของจำนวนผู้บริหารทั้งหมด สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratifies Random Sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน 1 คน รองผู้บริหารโรงเรียนหรือครูที่ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายวิชาการ 1 คน และครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานวิชาการ 1 คน โดยมีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามตอนที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.791 – 0.918 และแบบสอบถามตอนที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.910-0.955 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสมการการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการและตรวจสอบความเหมาะสม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการ ได้แก่ ความเชื่อถือ การมีวิสัยทัศน์ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 75.4 ค่าสัมประสิทธิ์สมการพยากรณ์ปรับปรุง (Adj R2) เท่ากับ 56.6 ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SEb) เท่ากับ .044 ตัวแปรทั้ง 2 ตัวสามารถทำนายได้ร้อยละ 56.6 และ 4) แนวทางในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบให้บริการ ปัจจัยทั้ง 2 ด้าน คือ ความเชื่อถือ และวิสัยทัศน์
References
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2552). ภาวะผู้นำสร้างสรรค์เพื่อการศึกษา. สมุทรปราการ: ธีรสาสน์พับลิชเชอร์.
กระทรวงศึกธิการ. (2550). หลักสูตรพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
จิรวรรณ เล่งพานิชย์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
เบญจพร แก้วมีศรี. (2545). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหาร วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
มนชัย อรพิมพ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
ศิริชัย กาญ จนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และดิเรก ศรีสุโข. (2551). การเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมกับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรายุทธ กันหลง. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพรบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2553). ภาวะผู้นำ. ประมวลสาระวิชาชุดวิชาทฤษฎีและแนวทางในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 5-8 (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper and Row.
Greenleaf, R. K. (1977). Servant Leadership: A Journey into the Nature of Legitimate Power and Greatness. New York: Paulist Press.
Hair, J. F., Jr., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E. & Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis (6th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Kouzes, J. M. & Posner, B. Z. (2003). Credibility: Hoe Leaders Gain and Lose it, Why People Demand it (2nd ed). San Fancisco, CA: Jossey – Bass.
Moorhead, G. & R. W. Griffin. (1998). Organization Behavior: Managing People and Organization (5th ed). Boston: Houghton Miffin.
Poon, R. (2006). A Model for Servant Leadership, Self-efficacy and Mentorship School of Leadership Studies. Regent University. Paper Presented at the Servant Leadership Research Roundtable, Regent University, Virginia Beach, VA. https://www.regent.edu/wp-content/uploads/2020/12/poon.pdf
Russell. & Stone, A. G. (2002). A Review of Servant Leadership Attributes: Developing a Practical Model. Journal of Leadership and Organizational Studies, 23(3), 57-145.
Winston, B. E. (2004). Servant Leadership at Heritage Bible College: A Single Case Study.
Vroom, V. H. & Deci, D. L. (1970). Management and Motivation. London, England: Penguin Books.
Wong, P. T. P. & Davey, M. A. (2007). Best Practice in Servant Leadership. Paper Presented at the Servant Leadership Roundtable at Regent University, Virginia Beach, VA. https://www.scirp.org/(S(351jmbntvnsjt1aadkozje))/reference/referencespapers.aspx?referenceid=2056242
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.