แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี
คำสำคัญ:
แนวทางการจัดการเรียนรู้, การบูรณาการเทคโนโลยี วิธีการสอน และเนื้อหา, สถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้ TPACK Model ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี และ 2) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี มีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน ซึ่งมีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ และครู ที่มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี จำนวน 3 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด TPACK Model ในสถานศึกษานำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา สังกัดสำนักพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปัตตานี มีองค์ประกอบโดยบูรณาการเทคโนโลยี วิธีการสอน และเนื้อหาเข้ากับการจัดการเรียนรู้ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ จัดเตรียมความพร้อมและบริการเครื่องมืออุปกรณ์ การสร้างความตระหนักด้านเทคโนโลยี และการสร้างครูแกนนำด้านเทคโนโลยี วิธีการสอนที่เหมาะสมในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง การสร้างสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย Teach Less, Learn More และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้เชิงบวก การจัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การควบรวมตัวชี้วัดหรือมาตรฐานการเรียนรู้ที่มีความสอดคล้องกัน การสร้างเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการออกแบบหลักสูตร การสร้างหลักสูตรมุ่งสู่อาชีพ การพัฒนาครูที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหา และการปรับเปลี่ยนเนื้อหาให้มีความทันสมัยและเป็นภาษาที่นักเรียนเข้าใจง่าย ทั้งนี้การบูรณาการด้านเทคโนโลยีเข้ากับการจัดการเรียนรู้ วิธีการสอน และเนื้อหา ต้องมีการนิเทศสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาการร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนรู้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทนา อุดม, ไพโรจน์ บุตรชีวัน, และนงนุช ไพบูลย์รัตนานนท์. (2561). โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบนวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 67-78.
จุฬาภรณ์ มาเสถียรวงค์. (2560). รายการการวิจัยโครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).
พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. (2562). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 136 ตอนที่ 56ก.ลงวันที่ 30 เมษายน 2562.
เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์ (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ: การจัดการข้อมูล การตีความและการหาความหมาย. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลิลลา อดุลยศาสน์ และสุภา ยธิกุล. (2561). การวัดระดับ TPACK (Technological Pedagogical and Content Knowledge) และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับ TPACK ของครูคณิตศาสตร์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา.
สุวรรณา แก้วศรีใส และสยาม จวงประโคน. (2564). กระบวนการจัดการเรียนรู้รายวิชาดนตรี ตามกรอบ TPACK MODEL สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหนองดู่ อําเภอธวัชบุรี จังหวัด ร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 40(1), 129-140.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
Mishra, P. & Koehler, M. J. (2006). Technological Pedagogical Content Knowledge: A Framework for Teacher Knowledge. Teachers College Record, 108, 1017-1054. http://dx.doi.org/10.1111/j.1467-9620.2006.00684
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.