การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การบริหารงานวิชาการเชิงระบบ, ความเป็นเลิศ, โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดบทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำเนินการ 3 ตอน คือ 1) ศึกษาสภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี 3 โรงเรียน โดยเลือกแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้างานวิชาการ หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระ จำนวนรวม 15 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 2) พัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยจัดกลุ่มสนทนาผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน เครื่องมือเป็นแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 โรงเรียน จำนวนรวม 95 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบประเมินความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ คือ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพบริหารงานวิชาการเชิงระบบสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนอนุบาลประจำจังหวัด พบว่า โรงเรียนบริหารงานวิชาการด้วย 9 องค์ประกอบหลัก คือ (1) การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การจัดการเรียนการสอน (5) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอน (6) การวัดและประเมินผล (7) การนิเทศ กำกับ ติดตาม (8) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และ (9) การสะท้อนผลและปรับปรุง มี 3 องค์ประกอบรอง คือ (1) แนวทางการดำเนินงานเชิงปัจจัยนำเข้า (Input Guidelines) (2) แนวทางการดำเนินงานเชิงกระบวนการ (Process Guidelines) (3) แนวทางการดำเนินงานเชิงผลผลิต (Output Guidelines) แล้วสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบ 2) ผลการพัฒนาและประเมินความเหมาะสม ได้รูปแบบ 5 องค์ประกอบ คือ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) การนำรูปแบบไปใช้ (5) เงื่อนไขความสำเร็จ ในสาระสำคัญมี 9 องค์ประกอบหลัก เป็นด้านปัจจัยนำเข้า 4 องค์ประกอบ คือ (1) การวางแผนและกำหนดเป้าหมาย (2) การพัฒนาหลักสูตร (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การจัดการเรียนการสอนด้านกระบวนการ 4 องค์ประกอบ คือ (1) การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการสอน (2) การวัดและประเมินผล (3) การนิเทศ กำกับ ติดตาม (4) การสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ด้านผลผลิต 1 องค์ประกอบ คือ การสะท้อนผลและปรับปรุง มี 3 องค์ประกอบรอง และมีแนวทางการดำเนินงาน 68 องค์ประกอบย่อย ความเหมาะสมโดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ พบว่า ความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์โดยภาพรวมและรายองค์ประกอบอยู่ในระดับมากที่สุด
References
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. รัตนสุวรรณการพิมพ์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. ข้าวฟ่าง.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2554). การบริหารงานวิชาการ. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
ยุวดี คุณสม, อนุศักดิ์ เกตุสิริ, และอารี หลวงนา. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่มีประสิทธิผล. ว.มรม. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(3), 1-12.
วิลัดดา เรืองเจริญ. (2558). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วีนัส ม่านมุ่งศิลป์. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะทางการบริหารของผู้บริหารระดับสูง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). สูตรไพศาล.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Barnett. (2010). The Ideal of Academic Administration. Journal of Philosophy of Education, 27(2), 179-192.
Baumgart, N. (1988). Equity, Quality and Cost in Higher Education. UNESCO Principal.Regional Office for Asia and The Pacific.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. McGraw-Hill Book.
Gorton, R. A. (1983). School Administration and Supervision Leadership Challenges and Opportunities (2nd ed). Wm. C. Brown.
Hoy, W. K. & Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory, Research, and Practice (7th ed). McGraw-Hill.
Keeves, P. J. (1988). Educational Research, Methodology and Measurement: An International Handbook. Pergamon Press.
Lunenburg, G. R. & Ornstein, A. C. (2008). Educational Administration: Concepts and Pratice (4nd ed). Publishing.
Owen, R. G. (1998). Organization Behaviorin Education (6th ed). Allyn & Bacon.
Semprevivo, P. C. (1976). System Analysis: Definition, Process, and Design. Science Research Associates.
Webster, D. S. (1981). Advantages and Disadvantages of Methods of Assessing Quality Change, 13(7), 20-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.