ผลของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านตีบใต้ จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • บุณยาพร พลคร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปรีชา วิหคโต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์เป็นฐาน, การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน ประชากร คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านตีบใต้ ตำบลบ่อไทย อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ไดแก แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน จำนวน 32 แผน และแบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้าใจปัญหา 10 ข้อ ด้านการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา 10 ข้อ และด้านการเลือกวิธีการแก้ปัญหา 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น 30 ข้อ ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 30 นาที ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (equation) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (equation) และการทดสอบสถิติไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสัมพันธ์กันทั้งโดยภาพรวม และแยกรายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ด้านการเข้าใจปัญหา ด้านการนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และด้านการเลือกวิธีการแก้ปัญหา สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-6 ปี). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.

ชลธิดา ณ ลำพูน และบุณยณัฐ บัวราช. (2562). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 235-247.

ชุลีพร ปิ่นธนสุวรรณ. (2556). ผลการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะเพื่อการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิชาชีพครู [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นลินทิพย์ คชพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงจิตวิทยาเพื่อเสริมสร้างการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู [ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2562. (2562, 30 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 56 ก. หน้า 5-16.

พัชรา พุ่มพชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

โรงเรียนบ้านตีบใต้. (2563). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาปีการศึกษา 2563. โรงเรียนบ้านตีบใต้.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2), 348-365.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25

How to Cite

Share |