การพัฒนาพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้การจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี โรงเรียนบ้านโคกตูม

ผู้แต่ง

  • ศิริภรณ์ อมรรัตนชัย คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • อัญชลี ไสยวรรณ วิทยาลัยการฝึกหัดครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • เบญจวรรณ ศรีมารุต วิทยาลัยการฝึกหัดครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์, กิจกรรมละครวัฒนธรรมท้องถิ่น, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี และ 2) ศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 32 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการแบบการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 20 คน การวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบเชิงทดลอง โดยใช้แผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว ระยะเวลาในการทดลอง 9 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร และวันพุธ วันละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี มีค่าความสอดคล้องที่ 0.67 – 1.00 และแบบสังเกตพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรีสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่าค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยแตกต่างกันอย่างน้อย 1 คู่ และ 2) พฤติกรรมการมีปฏิสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดลพบุรี มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสูงขึ้น

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจักระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธเนษฐ ก้อนกั้น. (2562). กรณีศึกษาการส่งเสริมทักษะการสร้างปฏิสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ของเด็กวัยอนุบาล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 16(72), 183-190. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/853599

พัชรา พานทองรักษ์. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคละครเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2560). การจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย. เอกสารชุดวิชาการจัดการศึกษาและหลักสูตรสำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เยาวนุช ทานาม. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ PLAY เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

รุ่งนภา คำไพ. (2564). การพัฒนาทักษะทางสังคม โดยใช้กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติของผู้เรียนระดับชั้น

อนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา. วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์, 5(2), 127-135. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Patanasilpa/issue/view/17345

โรงเรียนบ้านโคกตูม. (2563). เอกสารรายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563. ลพบุรี: โรงเรียนบ้านโคกตูม.

วิไลวรรณ ปันวัง. (2558). ผลการจัดประสบการณ์การประกอบอาหารพื้นบ้านภาคเหนือที่มีต่อมนุษยสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวแนะวิธีการเลี้ยงดู ดูแลและการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะเพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0 - 5 ปี. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2564). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยาพร ทิพย์มงคล. (2563). การพัฒนาพฤติกรรมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |