ปัญหาการสั่งฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ: ศึกษากรณีการใช้ดุลพินิจสั่งฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน

ผู้แต่ง

  • อภิชญา ตั้งประเสริฐ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ, หลักการสั่งคดีตามดุลพินิจ, คดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจ แนวความคิด และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการในการสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในกฎหมายประเทศไทย 2) เปรียบเทียบกฎหมายประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ และ 3) วิเคราะห์ปัญหาการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการตามกฎหมายไทยและแนวความคิดการมีอยู่ของประโยชน์สาธารณะต่อการดำเนินคดีอาญา โดยดำเนินการวิจัยจากการศึกษาจากหลักกฎหมายในพระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์สาธารณชนหรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติหรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ พ.ศ. 2554 ประมวลระเบียบสำหรับพนักงานอัยการประเทศอังกฤษ (Code for Crown Prosecutors) และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาญี่ปุ่น (The Code of Criminal Procedure Act No. 131 of 1948) ประกอบกับศึกษาจากหนังสือ ตำราทางวิชาการ และผลงานวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับการสั่งคดีของพนักงานอัยการของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผลการวิจัย พบว่า 1) ประเทศไทยใช้หลักการสั่งคดีตามดุลพินิจ (Opportunity Principle) และหลักเกณฑ์การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นไปตามพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติองค์กรอัยการฯ มาตรา 21 ประกอบกับระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดฯ 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยและขั้นตอนในการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน และการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนของประเทศไทยและต่างประเทศมีทั้งหลักเกณฑ์ที่คล้ายคลึงและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับบริบทสังคมและหลักการดำเนินคดีอาญาในประเทศนั้น ๆ  และ 3) ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหลักเกณฑ์การใช้ดุลพินิจพิจารณาความเป็นประโยชน์สาธารณะของพนักงานอัยการ

ยังไม่มีความชัดเจน ปัญหาอำนาจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นอำนาจของอัยการสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว และปัญหาประชาชนให้ความสำคัญกับคำสั่งฟ้องคดีของพนักงานอัยการ แทนที่จะสนใจกับประสิทธิภาพในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยของพนักงานอัยการ

References

กรณัท สร้อยทอง. (2564). การตรวจสอบดุลพินิจในการสั่งคดีอาญาชองพนักงานอัยการของประเทศไทยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(1), 170-189.

คณิต ณ นคร. (2564) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (พิมพ์ครั้งที่ 10). วิญญูชน.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2563) กฎหมายอาญาชั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 3). วิญญูชน.

ปกป้อง ศรีสนิท. (2564) เอกสารประกอบการบรรยายวิชากฎหมายอาญาชั้นสูง [เอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์]. คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระราชบัญญัติองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ. (2553, 7 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 127 ตอนที่ 75 ก. หน้า 38-50.

มรุสันต์ โสรัตน์. (2558). การตรวจสอบการใช้ดุลพินิจในการสั่งคดีอาญาของอัยการ [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต], มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์สาธารณชนหรือมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติหรือผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศ พ.ศ. 2554. (2554, 29 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 128 ตอนที่ 30 ก. หน้า 19-21.

รุ่งโรจน์ แจ่มพิทยากรณ์. (2555). การสั่งคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชนในชั้นพนักงานอัยการ. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 1(2), 40-53.

วรพรรณ อ่อนสีบุตร. (2560). การดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการโดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด. ข้อมูลสถิติคดีของสำนักงานคดีกิจการอัยการสูงสุด. สำนักงานอัยการสูงสุด. https://www3.ago.go.th/center/aff/

สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายสารสนเทศ. หนังสือรายงานประจำปี. สำนักงานอัยการสูงสุด. https://www3.ago.go.th/information/book/

สุริยา ปานแป้น และอนุวัฒน์ บุณนันท์. (2563). หลักกฎหมายว่าด้วยองค์กรอัยการและพนักงานอัยการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). วิญญูชน.

เสาวลักษณ์ แก้วกมล. (2554). การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

อดิศร ไชยคุปต์. (2542). ดุลพินิจของพนักงานอัยการในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Crown Office and Procurator Fiscal Service. (2001) Prosecution Code. COPFS. https://www.copfs.gov.uk/publications/prosecution-code/html

McConville, M. (1993). The case for the prosecution police suspects and the construction of criminality. Routledge.

Ministry of Justice. (2015). Simple Cautions of Adult Offenders. Ministry of Justice. https://assets.publishing.service.gov.uk

Thongjean, A. (2014). The Principles of Public Prosecutor’s Discretion Not Prosecuting the non Public Interest Criminal Cases in Thailand Thammasat Review, 16(2), 1-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25

How to Cite

Share |