การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา, ความสามารถด้านดนตรีไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยของสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) โรงเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะดนตรีไทยในงานศิลปหัตกรรมประจำปี 2565 จำนวน 14 โรงเรียน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน 3) นักเรียน จำนวน 14 คน 4) ผู้ปกครอง จำนวน 14 คน และ 5) ครูและผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 23 คน โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยโดยมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.60-1.00 2) แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือฯ โดยค่า IOC มีค่า 0.60-1.00 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนโดยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูและผู้บริหารสถานศึกษาโดยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 และ 6) แบบประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยค่า IOC มีค่า 0.60 ถึง 1.00 สถิติวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for One Sample)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันปัญหาของการส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยของสถานศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการบริหารแบบฯ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้านแนวคิดและทฤษฎี ด้านหลักการและเหตุผล ด้านการวางแผนบริหารจัดการ ด้านกระบวนการปฏิบัติ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติ โดยอาศัยการขับเคลื่อนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง และผลการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบฯ โดยภาพอยู่ในระดับมาก 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า (1) ผลการแข่งขันความสามารถด้านดนตรีไทยของนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันทักษะดนตรีไทยในงานศิลปะหัตกรรมระดับชาติ ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 80.41 คะแนน จาก 100 คะแนน (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านดนตรีไทยของนักเรียน ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและผู้บริหารโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทยสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระแกนกลางกลุ่มสาระเรียนรู้ ศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกสิณี ชิวปรีชา และชญาพิมพ์ อุสาโห. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 41(3), 147-159.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2562). ประวัติดนตรีไทยศึกษา : มุมมองทางทฤษฎีการศึกษา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2(40), 35-51.
ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2564). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). ตักสิลา.
ปราณี เพียรชนะ. (2560). กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงและการปรับวงดนตรีไทยของ ดร.สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ ศิลปินแห่งชาติ [ปริญญาดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปัณฑ์ชนิต ปัญญะสังข์. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาดนตรีและนาฏศิลป์สำหรับการส่งเสริมทักษะการขับร้องและความสามารถการทำงานเป็นทีมในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. นวัตกรรมเพื่อสุขภาพและสังคมในยุคดิจิตอล. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563 The 7th National Conference Nakhon Ratchasima College (The 7th NMCCON 2020). วิทยาลัยนครราชสีมา นครราชสีมา.
ปาหนัน กฤษณรมย์, ศรัทธา จันทมณีโชติ, คฑาวุธ พรหมลิ, และไกรศิลป์ โสดานิล. (2565). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมศัพท์สังคีตและเทคนิคการบรรเลงดนตรีไทย. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 6(2), 17-31.
พินิจ สังสัพพันธ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
พินิจ สังสัพพันธ์. (2564). รูปแบบการบริหารวิธีอนุรักษ์ดนตรีไทยของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านดนตรีไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. โรงเรียนบ้านชะอวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3, กระทรวงศึกษาธิการ.
พินิจ สังสัพพันธ์ และสุรีพร อนุศาสนนันท์. (2562). รูปแบบการบริหารเพื่อส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านดนตรีไทย. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.), 17(3), 79-98.
สุนัส ฤกษ์สมโภชน์ และพีระพงษ์ สิทธิอมร. (2562). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอนดนตรีไทยในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 8(2), 196-203.
อภินันท์ พฤกษะศรี และประชุม รอดประเสริฐ. (2563). กระบวนการการบริหารจัดการวงดนตรีไทยเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 20(2), 16-30.
Anderson, J. C., Rungtusanatham, M., & Schroeder, R. G. (1994). A Theory of Quality Management Underlying the Deming Management Method. Academy of management Review, 19(3), 472-509.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.