แนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
แนวทางพัฒนา, ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายใน, ระดับปฐมวัย, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยและระดับประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ดำเนินการวิจัยเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ศึกษาระดับปัจจัย ระดับประสิทธิผล และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ซึ่งจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 320 โรงเรียน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนเดียว ตอนที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบและประเมินความเหมาะสมของร่างแนวทางพัฒนา โดยจัดสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาพรวมและรายรายด้านอยู่ระดับมาก และระดับประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ในภาพรวมอยู่ในระดับดีเลิศ 2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านภาวะผู้นำ ด้านการบริหารจัดการ ด้านทรัพยากรทางการศึกษา และด้านการจัดประสบการณ์ ตัวแปรทั้ง 5 ตัวแปร สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ได้ร้อยละ 78.70 3) แนวทางการพัฒนาปัจจัยส่งผลต่อประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับปฐมวัยในโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของแนวทาง (3) แนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย ด้านวัฒนธรรมองค์กร มีแนวทางการพัฒนา 3 ขั้นตอน 8 แนวทาง ด้านภาวะผู้นำ มีแนวทางการพัฒนา 4 ขั้นตอน 11 แนวทาง ด้านการบริหารจัดการ มีแนวทางการพัฒนา 4 ขั้นตอน 9 แนวทาง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
เจนภพ ชาไมล์. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2564). ทฤษฎีเกี่ยวกับจิตสำนึก การสร้างจิตสำนึกและการปลูกฝังจิตสำนึก. http://nattawatt.blogspot.com/2016/12/consciousness.html
ดิเรก ภาโสม. (2560). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
เพ็ญพร ทองคำสุก. (2553). ตัวแบบสมการโครงสร้างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รณยุทธ สังสุทธิ. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการบริหารกับการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
วาทิตยา ราชภักดี. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วาสนา มากแก้ว. (2561). แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลระนอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2563. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570. พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2564). รายงานประจำปี 2564. https://www.onesqa.or.th/th/download/906/
สุชาดา บรรณกิจ. (2563). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เสาวนีย์ ขวัญอ่อน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อภิชาติ ครองยศ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสายงานจราจรสถานีตำรวจภูธรเมืองสกลนคร [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อนุศรา อุดทะ. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัย สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อัจฉรา นิยมาภา. (2561). ภาวะผู้นำทางวิชาการ ศักยภาพผู้บริหารยุคใหม่. วิสต้า อินเตอร์ปริ้น.
อำนาจ อยู่คำ. (2565). การพัฒนาคุณลักษณะของผู้บริหาร [เอกสารประกอบการสอน]. คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
Ahtiainen, R., Fonsén, E., & Kiuru, L. (2021) Finnish Early Childhood Education Directors’ Perceptions of Leadership and Assessment of the National Core Curriculum in Times of Change. Australasian Journal of Early Childhood, 46(2), 126–138.
Fathi shamma- Israel. (2018). The Level of Organizational Commitment Among School Teachers in the Arab Israeli Schools from Their Point of View. European Journal of Educational Sciences, 5(2), 1857-6036.
Nathaniel, G. Pearson. (2021). Impact of a Summer Leadership Academy on High School Student Leader Development. Journal of Higher Education Theory and Practice, 21(2), 32-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.