การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

ผู้แต่ง

  • ศิริกาญจน์ เจริญศิริ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรีสุดา พัฒจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่อง อาหารหลัก 5 หมู่ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD กับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ จำนวน 26 คน เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน (equation = 4.25, equation = 0.00, equation = 4.35 , equation = 0.14, equation = 4.35, equation = 0.14) 2) แบบทดสอบ มีค่า 0.71 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน เช่น ความสนใจ การตอบคำถาม และการมีส่วนร่วม (IOC = 1) มีความเหมาะสม และ 4) แบบสัมภาษณ์ (IOC = 1) มีความเหมาะสม วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วงรอบที่ 1 ขั้นวางแผน พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ 3 แผน ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 อาหารหลัก 5 หมู่ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 การจำแนกประเภทอาหารหลัก 5 หมู่ และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 ธงโภชนาการ วางแผนการจัดกิจกรรม พัฒนาแบบทดสอบ ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นสังเกตการณ์นักเรียนส่วนใหญ่ขาดความกระตือรือร้น คิดว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นสิ่งที่รู้อยู่แล้ว ผลการทดสอบนักเรียนจำนวน 17 คน สอบผ่าน จำนวน 9 คน สอบไม่ผ่าน และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าเนื้อหาการเรียนเข้าใจง่าย  แต่ครูควรเพิ่มเกมระหว่างเรียน วงรอบที่ 2 ขั้นวางแผน ปรับกิจกรรมในแผนการจัดการเรียนรู้ ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นสังเกตการณ์ นักเรียนมีความตั้งใจระหว่างเรียน ผลการทดสอบนักเรียนจำนวน 20 คน สอบผ่าน จำนวน 6 คน สอบไม่ผ่าน และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าครูควรเพิ่มเวลาในการทำข้อสอบ เพราะทำไม่ทันเวลา และควรมีสื่อในการเรียนมากขึ้น วงรอบที่ 3 ขั้นวางแผน เพิ่มเวลาในการทำข้อสอบ และเพิ่มรางวัลให้นักเรียน ขั้นปฏิบัติการ นํากิจกรรมที่วางแผนไว้ไปจัดการเรียนรู้ ขั้นปฏิบัติการ นักเรียนตั้งใจมากขึ้น ผลการทดสอบนักเรียนสอบผ่านทั้ง 26 คน แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีพัฒนาการในการเรียนรู้สูงขึ้น และขั้นการสะท้อนการปฏิบัติ นักเรียนคิดว่าครูสอนสนุก และมีรางวัลให้อีกด้วย 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 วงรอบที่ 1 ไม่ผ่านเกณฑ์ (63.85%) วงรอบที่ 2 ไม่ผ่านเกณฑ์ (69.87%) และวงรอบที่ 3 ผ่านเกณฑ์ (84.74%)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 เรื่องแนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรัสพล อาบทอง. (2559). ผลการใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ชลธิชา โยวะ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความปลอดภัยในชีวิต กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD [การค้นคว้าอิสระ]. มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. https://anyflip.com/crbsh/gxgj/basic

ทิศนา แขมมณี. (2545). ศาสตร์การสอน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่ 14). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 22). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาถศิริ มุพิลา. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD เรื่อง วิธีเรียงสับเปลี่ยนและวิธีจัดหมู่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.

โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์. (2564). งานวัดและประเมินผล. โรงเรียนอนุบาลสุรินทร์.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25

How to Cite

Share |