การพัฒนาความสามารถในการเขียนสะกดคำ หน่วยการเรียนรู้ที่ 15 เรื่อง ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ

ผู้แต่ง

  • จารุเดช ศรีดำรงค์ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรีสุดา พัฒจันทร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศิริพร พึ่งเพ็ชร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา, แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทย ก่อนและหลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 คน ได้จากวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)  เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการเรียนรู้ที่ 1 แม่กน มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.35 และ (S.D.) เท่ากับ 0.27 แผนการเรียนรู้ที่ 2 แม่กด มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.49 และ (S.D.) เท่ากับ 0.34 2) แบบฝึกในการเขียนสะกดคำ แม่กน ชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.81 และ (S.D.) เท่ากับ 0.32 ชุดที่ 2 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.74 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45 และชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.74 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45 แม่กด ชุดที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.93 และ (S.D.) เท่ากับ 0.13 ชุดที่ มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.81 และ(S.D.) เท่ากับ 0.32 และชุดที่ 3 มีค่าเฉลี่ยของความเหมาะสมเท่ากับ 4.70 และ (S.D.) เท่ากับ 0.45  และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการเขียนสะกดคำ ชุดที่ 1 แม่กน พบว่า ค่า (p) ของแบบทดสอบ 0.56 – 0.78 ค่า (r) ของแบบทดสอบ 0.33 – 0.89 และค่า (Reliability) เท่ากับ 0.72 ชุดที่ 2 แม่กด พบว่า ค่า (p) ของแบบทดสอบ 0.61 – 0.78 ค่า (r) ของแบบทดสอบ 0.33 – 0.67 และค่า (Reliability) เท่ากับ 0.71 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เบี่ยงเบนมาตรฐานของตัวอย่าง และสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรโดยการทดสอบที t – test for Dependent และ t – test for One Sample

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำ ชุดที่ 1 เรื่อง แม่กน และชุดที่ 2 เรื่อง แม่กด สูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด วิชา ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้แบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำชุดที่ 1 เรื่อง แม่กน และชุดที่ 2 เรื่องแม่กด สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นฤมล บุตรดี และพรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์. (2564). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกดโดยใช้สื่อ แบบประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. ใน อนุภูมิ คำยัง (บ.ก.) ความท้าทายทางการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสังคมท้องถิ่นวิถีใหม่. การประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเลยวิชาการครั้งที่ 7 (น. 263-302). มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ปาลิตา อิธิตา. (2564). การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ สังกัดสำหนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 [การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

มยุรี เอี่ยมอ่วม. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนคำมาตราตัวสะกดที่ไม่ตรงมาตราโดยใช้แบบฝึกของนักเรียน [รายงานการวิจัย]. โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์.

ศิราณี แพทอง. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำในภาษาไทยโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียน เรื่อง อ่านหรรษาพาเขียนเพลิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-25

How to Cite

Share |