กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การบริหารสู่ความเป็นเลิศ, โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 320 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารโรงเรียนประถม ศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 4 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ โดยร่างกลยุทธ์จากการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของร่างกลยุทธ์ ตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนและครูหัวหน้าวิชาการ จำนวน 60 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและแนวทางการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางในการพัฒนา คือ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย 2) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาผู้บริหารและครูของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กให้เป็นมืออาชีพ กลยุทธ์ที่ 2 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมกับผู้ปกครองและชุมชนให้เข้มแข็ง และกลยุทธ์ที่ 3 ปรับปรุงระบบการจัดการเรียนรู้แบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้มีประสิทธิภาพ 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสู่ความเป็นเลิศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.
เกษรา เอี่ยมสอาด. (2562). การพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จันทร์จิรา จูมพลหล้า, พงษ์นิมิตร พงษ์ภิญโญ, และพรทิพา หล้าศักดิ์. (2557). กรณีศึกษา: รูปแบบความสำเร็จการจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [รายงานวิจัย]. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ณัฐพล พันธุ์ภิญญา, เพียงแข ภูผายาง, สุรินทร์ ภูสิงห์, และบรรจบ บุญจันทร์. (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(2), 220-231.
ทัศพร ปูมสีดา. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประสิทธิ์ หนูกุ้ง, และเรชา ชูสุวรรณ. (2565). การวางยุทธศาสตร์การจัดการศึกษา Next normal: ความปกติถัดไปของการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน.วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 776-789.
ไพศาล หวังพานิช. (2560). วิธีการวิจัย [เอกสารประกอบการสอน]. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวิตุกล.
ละออ วันจิ๋ว และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2563). กลยุทธ์การส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(4), 228-239.
วิชัย ลาธิ และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(12), 85-100.
วิเชียร กันหาจันทร์, ยุวธิดา ชาปัญญา, และธันยาภรณ์ นวลสิงห์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําทางวิชาการของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12(1), 194-203.
ศศิรดา แพงไทย และสมใจ มณีวงษ์. (2561). ยุทธศาสตร์การบริหารสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. Journal of Nakhon Ratchasima College, 12(2), 114-125.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.
เสาวลักษณ์ คำลาพิศ และสมเกตุ อุทธโยธา. (2564). แนวทางในการส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียน ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยใช้กระบวนการบริหารแบบ POLC. วารสารการบริหารการศึกษา และภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 9(25), 118-127.
อภินันทิชัย แกระหัน. (2562). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 -2579) [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.