การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กและครูประถมศึกษา โดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจในการเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน และ2) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาการประถมศึกษามหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับเด็กและครูประถมศึกษา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน จำนวน 5 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ได้ค่าความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ในการเรียน โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test แบบ Dependent Sample)ผลการวิจัย พบว่า 1) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานมีความพึงพอใจในการเรียนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, = 0.31)
References
กัลยา สร้อยสิงห์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาทางด้านอุตสาหกรรมบริการ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 15(2), 381-396.
ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด ทฤษฎีและการนำไปใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ญาณิศา บุญจิตร์. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชาการประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 16(2), 81-96.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิทรา กิจธีระวุฒิวงษ์ และกีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์. (2564). การเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน: การนำไปใช้งานระดับอุดมศึกษา สำหรับการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(2), 287-302.
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565) แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มี คุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต. https://sdgs.nesdc.go.th/เกี่ยวกับ-sdgs/เป้าหมายที่-4-สร้างหลักป/
อัษฎาวุธ สุวัตถี, วุฒิชัย เนียมเทศ, เรชา ชูสุวรรณ, และจิระวัฒน์ ตันสกุล. (2565). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยใช้บ้านเป็นฐานในช่วงวิกฤติโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 252-267
Srikoon, S., Bunterm, T., Samranjai, J., & Wattanathorn, J. (2014). Research Synthesis of Research-Based Learning for Education in Thailand. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 116, 913-917.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.