การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
การพัฒนากลยุทธ์, การบริหารงานวิชาการ, การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล, โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ หรือ รองผู้อำนวยการ และครู จำนวน 140 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 6 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 การประชุมสนทนากลุ่มโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่ใช้ในการประเมินร่างกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล จำนวน 7 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบเจาะจง โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมเป็นเครื่องมือ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 และการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล โดยผู้อำนวยการสถานศึกษา หรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการ และครูวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ ได้ค่าความเที่ยงตรง ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการพัฒนาสื่อแหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มากที่สุด รองลงมาด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 2) กลยุทธ์การบริหารงานการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และโครงการ/กิจกรรม และใช้กลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางด้านวิชาการที่สนองต่อความต้องการของผู้เรียนและชุมชน กลยุทธ์หลักที่ 2 ปรับปรุงและพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และกลยุทธ์หลักที่ 3 ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการนิเทศการศึกษาแบบครบวงจรที่เป็นระบบและมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน และ 3) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรมสามัญศึกษา. (2547). ชุดปฏิบัติการจัดทำแผนกลยุทธ์และกรอบประมาณการรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ 4.0 ของกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2564-2565). กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษ เพิ่มทันจิตต์. (2562). แนวทางการบริหาร ภายใต้กระบวนทัศน์วิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2547). การพัฒนาสารสนเทศด้านการบริหารงานวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปัตตานี: ภาควิชาบริหารฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
ณัฐวัตร เป็งวันปลูก. (2560). ปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของข้าราชการทหารประจำสังกัดกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 7 (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เด่น ชะเนติยัง. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมมาภิบาลในสถานศึกษา สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วารสารวิชาการคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล, 10(3), 550-558.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2553). การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปกรณ์ ปรียากร. (2543). การวางกลยุทธ์: แนวคิดและแนวทางเชิงประยุกต์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2546). การจัดและบริหารอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารวิชาการ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
เพ็ญพักตร์ มิ่งวงศ์ธรรม. (2560). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2542). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษา: Strategic Management and Cases. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.
สมบูรณ์ เทพศรัทธา. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขอนแก่น.
สุทธศรี วงษ์สมาน. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา: ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายใน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษา: ก้าวอย่างมั่นใจ. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). สรุปผลการดำเนินงาน 9 ปี ของการปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2542-2551) (พิมพ์ครั้งที่ 2).กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาชาติ ปี 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Gill, R. (2011). Theory and Practice of Leadership. London: Sage Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.