การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่น สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • สุทธิพร แท่นทอง สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธีรารัตน์ ทิพย์จรัสเมธา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • เพียงฤทัย พุฒิคุณเกษม สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่น, หลักสูตรเน้นผลลัพธ์, นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และเพื่อนำเสนอหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประชากรในการวิจัย คือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในปีการศึกษา 2564 จำนวน 347 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเป็นจำนวน 189 คน และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความต้องการจำเป็นแล้ววิเคราะห์ด้วยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง จากนั้นออกแบบเป็นหลักสูตรฉบับร่างโดยให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คนตรวจสอบคุณภาพ เมื่อปรับปรุงพัฒนาเป็นหลักสูตรฉบับสมบูรณ์แล้วจึงให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คนประเมินคุณภาพ โดยวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล

     ซึ่งผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2564 มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการยุติการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการนำผลการติดตามมาสรุปแนวทางการให้ปรึกษาเป็นรายกรณีมากที่สุด (PNImodified= 0.51) และมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความสามารถในการบอกผลทางบวกและทางลบของทางเลือกในการแก้ปัญหาน้อยที่สุด (PNImodified= 0.19) 2) หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่นสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่พัฒนาขึ้นมี 1) จุดมุ่งหมายของหลักสูตรคือพัฒนาสมรรถนะการให้คำปรึกษาวัยรุ่น 2) เนื้อหาสาระครอบคลุมหลักการ เทคนิควิธี และทักษะต่าง ๆ ในการให้คำปรึกษาวัยรุ่น 3) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ภายในเวลาและกิจกรรมฝึกปฏิบัติระหว่างสัปดาห์ และ 4) การวัดและประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้รับคำปรึกษา ผู้สังเกตการณ์ และผู้เข้าฝึกอบรมประเมินตนเอง ทั้งนี้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{x} = 4.51, S.D. = 0.59)

References

Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2004). Guidelines for the Implementation of Student Care and Support Systems in Educational Institutions. Bangkok: Ministry of Education (In Thai).

Department of Mental Health. (1997). Telephone Consultation Guide. Nonthaburi Province: Ministry of Public Health (In Thai).

Department of Mental Health. (2020). Annual Report of the Department of Mental Health, Fiscal Year 2018 . Nonthaburi Province: Ministry of Public Health (In Thai).

Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University. (2021). Manual of Practicum 3 (4-Year Curriculum). Retrieved December 7, 2022, from https://edu.ssru.ac.th/useruploads /files/20210602/addd9250f6f0bbe48f918ff31cd2bfc7ef6f9cab.pdf (In Thai)

Kerdnaimongkol, U. (2016). The Effect of Training Program to Develop Skills in Assisting Students by Group Counseling of Secondary School Teachers. Silpakorn Educational Research Journal, 8(2), 36-48 (In Thai).

Khamphio, S., & Chaiyapan, G. (2010). Results of training package for developing on knowledge and counseling skills for counseling teachers in mathayomsuksa level of expansive opportunity schools. KKU Research Journal (Graduate Studies), 10(3), 127-134 (In Thai).

Kidyanyong, S. (2002). Train the trainer (2nd ed.). Bangkok: Multi Information Technology (In Thai).

Kurasapa. (2015). Accreditation of Degrees and Certificates in Education for Professional Practices. Bangkok: Office of the Committee for Promotion of the Benefits and Welfare of Teachers and Educational Personnel (In Thai).

Office of Basic Education Commission. (2016). Consultation. Bangkok: Ministry of Education (In Thai).

Office of the National Economic and Social Development Council. (2019). Thai social situation in the first quarter of the year 2019. Retrieved November 5, 2021, from https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5492andfilename=socialoutlook_report (In Thai)

Potiyen, K. (2021). Counseling Psychology: The Important Instrument for Solving Student’s Problem. Journal of Education Silpakorn University, 19(2), 11-27 (In Thai).

Saengloetuthai, J. (2015). Research Instrument. Graduate Studies Journal, 12(58), 13-24 (In Thai).

Samanya, S., & Tantirat, T. (2020). The Study of Life Skills and Teacher Profession of Pre-service Teacher: Case Study Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Journal of Educational Studies, 14(2), 85-97 (In Thai).

Samitthikrai, C. (2013). The Training of Personnel in the Organization (8th ed.). Bangkok:: Chulalongkorn University (In Thai).

Somanandana, V. (2018). Basic Counseling Skills for Classroom Teacher. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 8(2), 173-185 (In Thai).

Spady, W. G., & Marshall, K. J. (1991). Beyond Traditional Outcome-Based Education. Retrieved November 5, 2021, from http://www.ascd.org/ASCD/pdf/journals/ ed_lead/el_199110_ spady.pdf

Srisa-ard, B. (2010). Basic of Research (8th ed.). Bangkok: Suwiriyasan (In Thai).

Thaiguidance. (2014). School Guidance System. Bangkok: Guidance Association of Thailand (In Thai).

UNICEF Thailand. (2020). World Mental Health Day. Retrieved November 5, 2021, from https://www.unicef.org/ thailand/th/stories/ (In Thai)

Wongwanich, S. (2019). Need Assessment Research (4th ed). Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.12.2023