ผลการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่

ผู้แต่ง

  • ลำไย สีหามาตย์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คนึงนิตย์ วันนิตย์ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดพะเยา
  • สมชาย เด็ดขาด สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดแพร่
  • เมทิกา เลิศปฐมา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

กระบวนการกลุ่ม, ศักยภาพครู , การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนของความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูต่อการจัดกิจกรรมกระบวนการกลุ่ม วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ โดยการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมแบบกระบวนการกลุ่มจำนวน 16 ชั่วโมง แบบประเมินความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และแบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ t-test

     ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการกลุ่มตามแนวคิดของ Trotzer เพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก  สำหรับครูในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ในเขตจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่ มีทั้งหมด 5 ขั้นตอนที่ทำให้ครูผู้สอนเกิดทักษะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความมั่นคงปลอดภัยภายในกลุ่ม 2) ขั้นการยอมรับกลุ่ม 3) ขั้นสร้างความรับผิดชอบต่อตนเอง 4) ขั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข และ 5) ขั้นยุติกลุ่ม ผลการเปรียบเทียบผลคะแนนของความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของครูต่อการเข้าร่วมกิจกรรมกระบวนการกลุ่มอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Felder, R., & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44(2), 43-47.

Funfuengfu, V. (2019). The Success of Active Learning Management. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science)., 9(1), 135 – 145 (In Thai).

Kositborwarnchai, S. (2023). Preparation course to become a professional speaker. Retrieved July 9, 2023, from http://www.drsurachai.com (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2010). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Third National Education Act B.E. 2553 (2010)). Bangkok: Ministry of Education (In Thai).

Office of the Basic Education Commission. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2017. Bangkok: Publishing house Secretariat of the House of Representatives (In Thai).

Office of the Education Council. (2003). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002)). Bangkok: Pimdeekarnpim (In Thai).

Porntahdawit, N. (2016). Active Learning Management. Bangkok: Triple Education.

Reungsuwan, C. (2010). Educational technology Principles and guidelines. Maha Sarakham: Maha Sarakham University (In Thai).

Trotzer, J. P. (1977). The Counselor and the Group: Integrating Theory. In Training and practices. . California: Brooks/Cole Publishing.

Wiersma, W. (1991). Research Methods in Education (5th ed.). United stated of America: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.12.2023