การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • สุกัญญา จันทกุล คณะเทคโนโลยคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
  • ขจร อิศราสุชีพ คณะเทคโนโลยคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหาร, ชุมชนทอผ้าพื้นเมือง, ทอผ้า, ลวดลายชาวกะเหรี่ยง

บทคัดย่อ

         งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจปัญหาและความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่ง   บนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี  2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง วิธีการวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน แบบสอบถามผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามความพึงพอใจกลุ่มเป้าหมาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน

         ผลการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการทอผ้า ตัดเย็บผลิตภัณฑ์เสื้อกะเหรี่ยง ของใช้ของที่ระลึกของตกแต่งบ้าน และผลิตภัณฑ์มีการปักด้วยลวดลายที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง สมาชิกในกลุ่มมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารด้วยนำผ้าทอกะเหรี่ยงมาตัดเย็บเป็นผลิตภัณฑ์และปักลวดลายลงบนผ้าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ของตกแต่งบนโต๊ะรับประทานอาหารจากผ้าทอกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าพื้นเมือง ได้แก่ ผ้าคาดโต๊ะ ผ้ารองจาน ผ้ารองแก้ว กล่องทิชชู่ จำนวนผลิตภัณฑ์ละ 3 รูปแบบ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน พิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสม พบว่า ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เลือกรูปแบบผ้าคาดโต๊ะที่ 3 รูปแบบผ้ารองจานที่ 2 รูปแบบผ้ารองแก้วที่ 3 และรูปแบบกล่องทิชชู่ที่ 3  จัดทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ และประเมินความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจมีต่อผลิตภัณฑ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.25

Author Biography

ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

-

References

Burapajatana, J. (2016). Applying patterns from Identity of Jok woven textiles of Mae Jam todesign of cultural textile products for home decoration. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(3), 1720-1738. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/90823 (In Thai)

Chomchuen, T., & Jaiban, S. (2018). Enhancing of Productive Potentiality of Community Products “Karen Weaving” with Sufficiency Economy and Creative Economy: Case of Mae Yao Sub-district Community,Muang District. Chiang Rai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 3(2), 203-214. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/132500 (In Thai)

Dawdeaen, S. (2010). The Study on the Development of Woven Cloth with Antique Pattern into Table-cloth Set Handicraft as Commercial Products at Pa Tang Village in Uthai Thani Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 1(1), 40-50. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/26374 (In Thai)

Hongrattanavorakit, S., & Chantakul, S. (2022). Development of home decoration products from woven origami technique community products sewing enterprise and artificial fabric Khao Kaew Srisomboon Thung Saliam Sukhothai. Art and Architecture Journal Naresuan University, 13(1), 113-122. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ajnu/article/view/246574 (In Thai)

Janpla, J., Songsuwong, W., Kijkar, P., & Wongsaming, S. (2016). Development of Thai Song Dam Woven Fabric Products Add Value Following the Creative Economy Concept. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 82-98. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/61543 (In Thai)

Kanchanasuphan, J., Boonkoum, W., & Kheovichai, K. (2020). Participatory Action Research for the Conservation of Sustainable Karen Culture: a Case Study of the Karen Ethnic Group in Ratchaburi Province. Dhonburi Rajabhat University Journal, 14(2), 84-97. Retrieved from http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/2750 (In Thai)

Keawpan, T., Itsaranuwat, S., & Plangnok, J. (2020). Principles and concepts in product design. Journal of Humanities and Social Sciences Surin Rajabhat University, 22(2), 161-182. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jhssrru/article/view/248733 (In Thai)

Kongjok, A. (2022). Head of the Karen weaving group Ratchaburi Province. Ratchaburi.

Phiwongkun, K., Bunlikhitsir, B., & Panthupkorn, P. (2019). A Study on Ethnic Tribal Patterns in Karen Ruam Mitr Souvenir Designs. MangraiSaan Journal, 7(2), 123-140. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/192149 (In Thai)

Pichayakul, P., Mahachaiwong, N., & Srisawat, J. (2020). Marketing Mix Strategy Development of Ban Lai Kaew Karen Weaving Textile Group, Chiang Mai Province. Area Based Development Research Journal, 12(5), 356-372. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/abcjournal/article/view/241210 (In Thai)

Sahasomchoke, W., Porncharoen, R., & Somthai, S. (2013). Prototype Design and Development of Home Use Souvenirs and Home Decorative Items, Produced from Natural Material and Production Wastage from Pathum-thani Province. Phranakhon Rajabhat Research Journal, 8(1), 1-16. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/PNRU_JHSS/article/view/41758 (In Thai)

Thama, R., & Kason, K. (2020). The Development of Karen Scarf Pattern, Scarf Weaving Group, Ruammit Village, Mae Yao Sub-District, Mueang District, Chiang Rai Province. The Journal of Accounting Review Phiang Rai Rajabhat University, 5(1), 13-23. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JAR_CRRU/article/view/259678 (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08.05.2024