แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

บุพชาติ ดวงดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของจังหวัดนนทบุรี 2) วิเคราะห์ศักยภาพ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ในพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี 3) สร้างแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีเครื่องมือได้แก่ แบบรายการศึกษาชุมชน แบบตรวจสอบทรัพยากรการท่องเที่ยว (พยอม ธรรมบุตร,2546) สัมภาษณ์เชิงลึกและการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม มีประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 31 คน จากภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยว


ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด คือเกาะเกร็ด ซึ่งอยู่ในส่วนของทรัพยากรธรรมชาติมีความสำคัญเป็นอันดับ 1   ทรัพยากรวัฒนธรรม อันประกอบด้วย วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร วัดเขมาภิรตาราม วัดชะลอ วัดโชติการาม วัดชมพูเวก วัดปราสาท วัดไทรม้าเหนือใต้ วัดไทรใหญ่ วัดราษฏร์ประคองธรรม วัดเกาะพระยาเจ่ง วัดไผ่ล้อม วัดอัมพวัน วัดเสนีวงศ์ วัดบรมราชาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่ยเน่ยยี่2) มีความสำคัญรองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ในส่วนของทรัพยากรเทศกาลงานประเพณี ศิลปวัฒนธรรมการท่องเที่ยวของจังหวัดนนทบุรีนั้น เทศกาลผลไม้และของดีเมืองนนท์  เป็นที่นิยมในลำดับที่ 3 ส่วนทรัพยากรท่องเที่ยวกิจกรรม  เช่นการท่องเที่ยวตลาดน้ำ ชมวิถีชีวิตชุมชน มีความสำคัญในลำดับที่ 4 และท้ายสุดอันดับ 5 คือทรัพยากรท่องเที่ยวด้านบริการ เช่นทางหลวงแผ่นดินที่สะดวกและรองรับการขยายตัวของ AEC ผนวกกับการเชื่อมต่อทางด่วนพิเศษศรีรัช และการบริการขนส่ง เรือโดยสาร เรือท่องเที่ยว และรถไฟฟ้า 


ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) ของในพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี พบว่า การมีวัดเก่าแก่และโบราณสถานซึ่ง สะท้อนถึงร่องรอยประวัติศาสตร์เป็นจุดแข็งในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี  ในขณะที่จุดอ่อน ในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรีคือ การสูญเสียสังคมเกษตรกรรม จากการขยายตัวของเมือง ในทางกลับกันจังหวัดนนทบุรีมีโอกาสในการพัฒนาการท่องเที่ยวคือสามารถการผลักดันจังหวัดนนทบุรีให้เป็นศูนย์กลางการปลูกทุเรียนนนท์อันดับหนึ่งของโลก โดยสร้างแบรนด์นนทบุรีเป็นแหล่งท่องเที่ยวสู่ระดับสากล ในขณะที่ความคิดเห็น


เกี่ยวกับส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับอุปสรรค พบว่าทำเลที่ตั้งซึ่งเป็นที่ราบลุ่มริมน้ำ ประสบปัญหาอุทกภัยโดยง่าย เป็นปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดนนทบุรี  จากผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับทรัพยากรของจังหวัดนนทบุรี จึงได้มาซึ่งแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของจังหวัดนนทบุรี โดยพัฒนาองค์ประกอบสี่ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมและด้านจิตใจ


คำสำคัญ : แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน จังหวัดนนทบุรี


 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เขมินทรา อมตสกุล. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ศศ.ม., มหาวิทยาลัย, เชียงใหม่.
นิภารัตน์ สายประเสริฐ. (2553). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม., มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
พยอม ธรรมบุตร. (2546). แบบการตรวจสอบทรัพยากรท่องเที่ยว. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
__________. (2546). แบบรายการตรวจสอบการศึกษาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
__________. (2546). เอกสารประกอบการเรียนการสอนหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555- 2559 สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2556 จาก www.tourismkm-asean.org
สำนักงานจังหวัดนนทบุรี. แผนพัฒนาจังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2557-2560 สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2556 จากwww.nonthaburi.go.th
สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน (2554). CBT มีมิติ พื้นที่ทางสังคมของชุมชนในการกำหนดทิศทางการท่องเที่ยว สร้างการเรียนรู้ระหว่างเจ้าของบ้านกับผู้มาเยือน (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.
ภาดาวิดา รังสี (2550). ความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนในการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา บ้านแม่กำปอง กิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ รป.ม.,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
วัลลภ คล่องพิทยาพงศ์ (2551). เส้นทางบุญเก้าวัดปริมณฑล นนท์-ปทุม (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: รักคนอ่าน.
เอกชัย บุญยาทิษฐาน (2553). คู่มือวิเคราะห์SWOTอย่างมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.