ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 26 คนและคณะกรรมการบริหารศูนย์ 191 คน รวมเป็น 217 คนได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 2 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การทดสอบทีการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับดี
- ความคิดเห็นของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อการประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา พบว่าโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกันแต่การจำแนกตาม ประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2547). คู่มือมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น. (2557). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
สำนักงานประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น.(2546). คู่มือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการนำมาตรฐานการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์ (2549).ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตของผู้บริหาร และพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาล จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
กฤชภร มุลาลินน์. (2552). ความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ไกรษร สุธรรมมา. (2551). ทรรศนะของบุคลากรต่อการบริหารงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดอุบลราชธานี . วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ฑิฆัมพร ศิริจันทพันธ์ (2554). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาปฐมวัยโรงเรียนอนุบาลสำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พิณวดี เคนไชยวงศ์ (2554). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มัณฑนา หริกจันทร์(2552). ปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารตำบล จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศราวุธ สังกะเพศ. (2551). การประเมินประสิทธิผลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริพร ทองธรรมจินดา (2553). พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดนครปฐม. ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.