การใช้บทความเป็นสื่อพัฒนาการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทความเป็นสื่อ และ (2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความของนักเรียนดังกล่าวก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้บทความเป็นสื่อ
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทความเป็นสื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ และเขียนสรุปความ จำนวน 15 แผน และแบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ (1) คะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความหลังเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสตรีสิริเกศที่เรียนโดยใช้บทความเป็นสื่อสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์
ก่อนเรียน และ (2) คะแนนผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความหลังเรียนของนักเรียนดังกล่าวที่เรียนโดยใช้บทความเป็นสื่อสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
คำสำคัญ : บทความ การอ่านจับใจความ การเขียนสรุปความ มัธยมศึกษา
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งชาติ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เจือ สตะเวทิน. (2517). ตำรับเรียงความ. กรุงเทพฯ : พิมพ์ลักษณ์.
ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2552). การประเมินผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์. ในประมวลสาระเพิ่มเติม ชุดวิชาการ วิจัยหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน หน้า 37 – 70 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 12 กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬากรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
ล้วน สายยศ; และ อังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการวัดผล และวิจัยทางการศึกษา สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, กรุงเทพฯ.
วลีรัตน์ ดิษยครินทร์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสรุปความจากเพลงไทยร่วมสมัยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
วัฒนา แช่มวงษ์. (2556). การเขียนบทความ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ศรีวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2549). การสร้างแบบฝึกอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร (สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2553). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. และสาระมาตรฐาน กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2537). หน่วยที่ 13 วิธีสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านในประมวลสาระชุดการพัฒนาทักษะทางภาษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
_________. (2545). หลักวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร. ไทยวัฒนา
พานิช.
________ . (2549). การอ่านภาษาไทย ในเอกสารการสอนชุดวิชา การอ่านภาษาไทย(หน่วยที่ 1). นนทบุรี. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
________. (2550). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6).กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ลักษณ์.
สุวีณา เดือนแจ้ง. (2550). ผลของการใช้สารจากหนังสือพิมพ์เป็นสื่อพัฒนาการอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
เอมอร มีสุนทร. (2550). ผลการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสรุปความโดยใช้ผังมโนทัศน์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสามกอ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.