ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการกับศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Main Article Content

สุคนธ์ทิพย์ สัมทาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาพลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) เพื่อศึกษาศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการกับศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ


กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 210 คน ใช้วิธีการแบ่งขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีพลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการ โดยรวม ได้แก่ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ด้านการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล และด้านการถ่ายทอดความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมาก 2) เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัย    ราชภัฏ มีศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS โดยรวม ได้แก่ ด้านระบบการเบิกจ่ายเงิน ด้านระบบการรับและนำส่งเงิน ด้านระบบบัญชีแยกประเภท และด้านระบบสินทรัพย์ถาวร อยู่ในระดับมาก         3) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการกับศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS ของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า พลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับศักยภาพการปฏิบัติงานการเงินและบัญชีด้วยระบบ GFMIS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


คำสำคัญ : พลวัตการจัดการความรู้เชิงบูรณาการ, ศักยภาพการปฏิบัติงาน, ระบบ GFMIS, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี


 

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงการคลัง. (2559 ). ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ : หลักการและขอบเขตของการดำเนินงาน. สืบค้น 10กันยายน 2559, จาก
http://www.gfmis.go.th/ gfmis_us2.html
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล (2557). การจัดการความรู้...ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ ประจำเดือนพฤษภาคม 2557 (134-144).
จำเริญ อุ่นแก้ว. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย. ศรีสะเกษ: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
จิตติมา โชคสงวน. (2553). ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS). (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
ประภาพรรณ อุ่นอบและพรธิดา วิเศษศิลปานนท์. (2555). การจัดการความรู้สู่องค์กรแห่งความสุข: แนวคิดและบทเรียนจากกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.
พรทิพย์ ไชยสมศรี. (2550). ผลกระทบของศักยภาพการบริหารจัดการที่มีต่อผลการดำเนินงานของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้ : พื้นฐานและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: เอกซ์ปอร์เน็ท.
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2554).การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเขตภูมิภาคตะวันตก. นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
ไพวรรณ เทือกกอง. (2552). บทบาทความสัมพันธ์ของกระบวนการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศการจัดการทางการเงินของรัฐบาล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; ว.มรม. ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 : กันยายน-ธันวาคม 2552 (59-67).
วิภัสรา รถทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีผ่านระบบ GFMIS ของส่วนราชการจังหวัดระนอง. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.