ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการเขียนสรุปความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

พรทิพย์ หาวิชิต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสรุปความโดยใช้  ภูมิปัญญาท้องถิ่นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสตรีสิริเกศ  จังหวัดศรีสะเกษ  (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนสตรีสิริเกศ  จังหวัดศรีสะเกษ  ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการเขียนสรุปความ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  คือ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ปีการศึกษา  2559  จำนวน  40  คน  โรงเรียนสตรีสิริเกศ  จังหวัดศรีสะเกษ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ  (1) แผนการจัดการเรียนรู้  (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความ  (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  สถิติที่ใช้ในการในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที


            ผลการวิจัย  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนสรุปความของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อพัฒนาการเขียนสรุปความ  อยู่ในระดับ  เห็นด้วยมาก 


คำสำคัญ:  การเขียนสรุปความ  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ความคิดเห็น

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______., คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). จากจุดเน้นพัฒนาผู้เรียน...สู่ชั้นเรียน. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา. (2539) แนวคิดจากการอภิปรายของผู้ทรงคุณวุฒิในการสรุปผลการ
ประชุมสัมมนาเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นกับหลักสูตรที่พึ่งประสงค์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2553). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราช
ประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 23. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท
ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
นพนิตย์ รอดศิริ. (2550). การพัฒนาทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้เพลงแหล่ของพร ภิรมย์
เป็นสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศาลเจ้า(ท้าวนุกูลวิทยา).
กรุงเทพฯ: สำนักงานเขตบางขุนเทียน.
เนาวรัตน์ เจตดุ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสรุปความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น
ไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ. .
รณกร ทองแดง. (2557). การอนุรักษ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตกรรมพื้นบ้านประเภทจักสานของ
ภาคเหนือ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานในกระบวนการวิชา 751409 เชียงใหม่:
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วลีรัตน์ ดิษยครินทร์. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนสรุปความจากเพลงไทยร่วมสมัย
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์. (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
สมหมาย ภู่ทับทิม. (2554). ผลการใช้หนังสือประกอบการเรียนเรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นเขา
ฉกรรจ์ทีมีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
โรงเรียนบ้านนา(สามัคคีวิทยา) จังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2544). การประเมินผลภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). การอ่านจับใจความ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการอ่าน
ภาษาไทย หน่วยที่ 1 – 7. หน้า 93 – 152. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2550). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน. นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ ลิงคส์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน
ตามหลักสูตรการศึกษาข้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า
และพัสดุภัณฑ์.
______. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)
(2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553) วิธีสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ . กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2554) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______. (2555). เครื่องมือวัดและปะเมินความสามารถและทักษะตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
“ทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ตามช่วงวัย”ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
อุทุมพร จามรมาน. (2530) ลักษณะผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในเอกสารการสอนชุด วิชาการพัฒนา
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นนทบุรี
เอมอร มีสุนทร. (2550). ผลการสอนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสรุปความโดยใช้ผังมโนทัศน์ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.