การปฏิบัติการพัฒนาการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน สาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29

Main Article Content

แจ่มละมัย โจระสา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้การวิจัยเป็นฐานและเพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติเป็นฐาน โดยเทียบกับเกณฑ์ 80 ของคะแนนเต็ม และจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ใช้การวิจัยปฏิบัติการตามแนวคิด Kemmis and Mc Taggat ตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สาระภูมิศาสตร์ จำนวน 12 แผน  2) แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร จำนวน 3 ฉบับ  3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ สาระภูมิศาสตร์ จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบบันทึกประจำวันของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การคิดวิเคราะห์ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีลักษณะเป็นบันไดเวียน 3 วงจร ซึ่งในแต่ละวงจร ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน  การปฏิบัติการตามแผนและการสังเกตการณ์ และ การสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน มีขั้นตอน ขั้นที่ 1  ขั้นเลือกปัญหา (สงสัย) ขั้นที่ 2 ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นเลือกระเบียบวิธีวิจัย(สู่คำตอบ) ขั้นที่ 4 ขั้นรวบรวมและตีความหมายข้อมูล และขั้นที่ 5 ขั้นสรุปผลการวิจัย ซึ่งเป็นขั้นที่นักเรียนเขียนสรุปผลการดำเนินการทั้งหมด ในลักษณะของรายงานวิจัย แล้วนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้า ร่วมกันอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปร่วมกัน 2) นักเรียนมีผลการทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ สาระภูมิศาสตร์ ก่อนปฏิบัติการ มีคะแนนเฉลี่ย 8.33 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 41.65 หลังปฏิบัติการมีคะแนนเฉลี่ย 17.13 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.65  มีคะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 8.80 มีนักเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ร้อยละ 100 และคะแนนทดสอบหลังปฏิบัติการสูงกว่าก่อนปฏิบัติการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


คำสำคัญ  การปฏิบัติการ, การคิดวิเคราะห์, การจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

การศึกษาแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ.2542 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
กลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร . (2554). หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียน โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2554).
อุบลราชธานี : โรงเรียนโพธิ์ไทรพิทยาคาร.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุ
สภาลาดพร้าว.
ขวัญตา มาพะเนาว์. การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระ
การเรียนรู้เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนตาม
แนวคิด 4 MAT. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
ฑิฆัฆพร กฤตาคม. (2557). การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เทคนิค
การประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแวงใหญ่พิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ :
ด่านสุทธาการพิมพ์.
พงษ์ศักดา นามประมา. (2557). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่ความเป็นพลเมืองอาเซียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้วิจัยเป็ นฐาน (RBL) ในรายวิชาเพิ่มเติม ส 33202
อาเซียน ศึกษา 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุคส์พับลิเคชั่นส์.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สาฮะแอนชันพริ้นติ้ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). สานฝันด้วยการคิด. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน เอกสารแนวทางการปฏิรูปการเรียนการสอนตามเจตนารมณ์กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2547). การสอนแบบ Research Based Learning.
พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อมรพรรณ เวียงจันทร์. (2558). การปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านวังพระวังไฮ สำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี,.
Bloom, Benjamin S. (1956) .Taxonomy of Educetion Objectives Hand Book I :
cognitive Domain. Newyork: David Mac Kay Company, lince.