ผลการใช้สารบันเทิงคดีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และความสัมพันธ์ระหว่าง การอ่านจับใจความกับการเขียนสรุปความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ชญานิษฐ์ ไตรทิพยานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนโดยใช้สารบันเทิงคดี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาพระ  จังหวัดสงขลา (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความระหว่างคะแนนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนดังกล่าว และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความกับคะแนนผลสัมฤทธิ์การเขียนสรุปความของนักเรียนดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  จำนวน 1 ห้องเรียน ของโรงเรียนบ้านเขาพระ  จังหวัดสงขลา ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2558  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความและการเขียนสรุปความ  และแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที   และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


                  ผลการวิจัยพบว่า  (1)  ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาพระ  จังหวัดสงขลา หลังเรียนโดยใช้สาระบันเทิงคดีสูงกว่าก่อนเรียน (2) ผลสัมฤทธิ์ในการเขียนสรุปความหลังเรียนโดยใช้สาระบันเทิงคดีสูงกว่าก่อนเรียน และ (3) ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความกับการเขียนสรุปความของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวก


คำสำคัญ   สารบันเทิงคดี  การอ่านจับใจความ  การเขียนสรุปความ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2552). การประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์. ในประมวลสาระ ฉบับเพิ่มเติมชุดวิชาการวิจัยหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน หน้า 27-70
นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
ธวัช ปุณโณทก. (2552). นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์
ดรุณี อินทร์บัว. (2549). “ผลการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี ในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1” (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2548). การอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 4 การอ่านจับใจความ. นนทบุรี: สุโขทัยธรรมาธิราช
. (2548). เทคนิควิจัยด้านการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
. (2550). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
. (2552). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงาน
คณะกรรมการสกสค.
. (2554). กลวิธีเพื่อการเรียนการสอนการอ่าน. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2554). “ทฤษฎีและรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียนการสอนภาษาไทย” ในประมวลสาระชุดวิชาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาไทย หน่วยที่ 2. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
. (2555). การอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 9 ใน ประมวลสาระชุดวิชาการอ่านภาษาไทย หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวนีย์ ธนะสาร. (2553). การศึกษาความสามารถอ่านจับใจความและความสนใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่านจาก
การสอนอ่านตามแนวการสอนแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค” (ปริญญานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ). กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
อรทัย ชีตารักษ์. (2546). การใช้นิทานพื้นบ้านภาคเหนือเป็นสื่อการเรียนเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่โปง จังหวัดเชียงใหม่
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัฉราวดี ลี้ปราศภัย. (2548). การใช้สารภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสื่อพัฒนาการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเขาช่องลม จังหวัดระยอง.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุทุมพร จามรมาน (2552) “การวิจัยทางการศึกษา” ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการวิจัยหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอน หน่วยที่ 1 หน้า 4 - 49 นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช