ผลของการใช้นิทานพื้นบ้านชุมพรต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในหุบ จังหวัดชุมพร

Main Article Content

นิพาภรณ์ ยอดราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในหุบ  จังหวัดชุมพร (2) เพื่อเปรียบเทียบ   เจตคติต่อท้องถิ่นก่อนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านในหุบ  จังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  โรงเรียนบ้านในหุบ  อำเภอสวี  จังหวัดชุมพร  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2559  จำนวน  25  คน  ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ใน  การวิจัย  ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้พัฒนาการอ่านจับใจความ โดยใช้นิทานพื้นบ้านชุมพรเป็นสื่อ  แบบทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนและแบบสอบถามเจตคติต่อท้องถิ่น  สถิติที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่   ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


        ผลการวิจัยพบว่า  (1)  นักเรียนที่เรียนโดยใช้นิทานพื้นบ้านชุมพรเป็นสื่อ  มีผลสัมฤทธิ์ทาง  การอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  และ (2) เจตคติต่อท้องถิ่นหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนดีขึ้น


 คำสำคัญ  นิทานพื้นบ้านชุมพร  การอ่านจับใจความ  เจตคติต่อท้องถิ่น  มัธยมศึกษาปีที่  1

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กนกวรรณ ศรีชุมพวง. (2550). ผลการสอนโดยใช้นิทานพื้นบ้านภาคใต้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประชาวิทยา จังหวัดตรัง. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เนตรนภา นิชานนท์. (2549). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความและเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนที่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาภาษาไทย เรื่อง เล่าเรื่องเมืองศรีธรรมราช สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครศรีธรรมราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปทุมกาญจน์ ศรีสุวรรณ. (2549). การใช้วรรณกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี
(ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2547). “นิทานพื้นบ้านไทย” ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 26 หน้า 7 – 52 กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว
สุกัญญา วันชนะ. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้หนังสือนิทานชาดกคำกลอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกาศเมฆ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชนกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
. (2550). สร้างเด็กไทยให้อ่านเก่ง อ่านเร็ว ช่วงชั้นที่ 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6) กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการ สกสค.
อรทัย ชีตารักษ์. (2546). การใช้นิทานพื้นบ้านภาคเหนือเป็นสื่อการเรียนเพื่อพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแม่โปง จังหวัด
เชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Skinner, Burrhus Frederic. (1969). Contingencies of Reinforcement: a Theoretical analysis. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall.
Thorndike, E. L. (1913). Educational Psychology. Vol. 2 New York: Columbia University . Teachers College.