แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพและสร้างแผนยุทธศาสตร์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนของแขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ ผลการศึกษาพบว่าชุมชนแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีศักยภาพความพร้อมในพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการตามแผนยุทธศาสตร์ที่สร้างขึ้นในงานวิจัยครั้งนี้ โดยมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของชุมชนริมฝังแม่น้ำเจ้าพระยา ตลอดจนการท่องเที่ยวเชิงศาสนา และชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ซึ่งอยู่รวมกันอย่างสันติสุข แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้บูรณาการยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาจิตใจเข้าไว้ด้วยกัน ประกอบด้วยกลยุทธ์และโครงการแต่ละด้าน อันจะนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนของชุมชนแขวงกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ 1. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ 2. ความยั่งยืน 3. แผนยุทธศาสตร์
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2548). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พริ้นท์.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
นภาภรณ์ จันทร์ศัพท์. (2556). ระเบียบวิธีการวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปิยะชาติ อิศรภักดี. (2559). BRANDING 4.0 พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์: Amarin HOW-To.
พยอม ธรรมบุตร. (2558). The Destination (จุดหมายปลายทางของการเดินทาง) ใน เอกสารประกอบการเรียนการสอนการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา.
พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). (2556). ชีวิตที่สมบูรณ์. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน.
เมตต์ เมตต์การุณจิด. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. สำนักพิมพ์: BookPoint Academic
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2556). วิสัยทัศน์ประเทศไทย 2570. สืบค้นเมื่อวันที่ จาก 10 กุมภาพันธ์ 2560. จาก www.nesac.go.th/web/upload/modDocument/file_5301382881864_tn-46-221.pdf
สุภางค์ จันทวานิช. (2558). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2559). THAILAND 4.0 โมเดลขับเคลื่อนสู่ความมั่นคงมั่งคั่งและยั่งยืน. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560. จาก ebooks.m-society.go.th/ebooks/download/194
เอื้อมพร หลินเจริญ. (2554). การวิเคราะห์และการนำเสนอผลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
COOPER. (2012). The Essentials of Tourism. Dordrecht Heidelberg, London, New York: Springer. Prentice Hal.
WTTC. (2010). Travel & Tourism Economic Impact: Thailand 2009. (London: World Travel Council).