ศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) เพื่อจัดเป็นศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอภูสิงห์จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกร เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน โรงเรียน ชาวบ้าน ในเขตพื้นที่อำเภอภูสิงห์ เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดิน จังหวัดศรีสะเกษ ปราชญ์ผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร และกลุ่มแม่บ้านสินค้า OTOP โดยเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการเจาะจงขอบเขตด้านพื้นที่ในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(Par)วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ศึกษาหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) การทำปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการศึกษาบริบทของพื้นที่การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองสูตรวิธีการและการใช้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น 3)จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอภูสิงห์จังหวัด ศรีสะเกษ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง (structured interview) แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ(percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) ค่า (IOC) ค่าการวิเคราะห์องค์ประกอบ (exploration factor analysis) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ที่เกี่ยวข้อง (Content Analysis) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายเน้นเนื้อหาที่ปรากฏในข้อความหรือสาระอย่างมีระบบ
ผลการวิจัยพบว่า
- การศึกษาหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน พบว่า ส่วนใหญ่รู้จักหญ้าแฝก จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 66.7 และไม่รู้จักหญ้าแฝกจำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 33.3 โดยทั่วไปหญ้าแฝกที่เป็นที่รู้จักมักเป็นพันธุ์สงขลา 3 ร้อยเอ็ด กำแพงเพชร2 สุราษฎร์ ศรีลังกา นครสวรรค์หญ้าแฝกคลุมแฝกดอน และแฝกกลุ่ม ผลจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คนพบว่าก่อนเข้าร่วมโครงการได้มีการรับความรู้การถ่ายทอดด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการปลูกหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองเช่นลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินการทำปุ๋ยหมักอาหารสัตว์ทำเป็นหัตถกรรมเครื่องจักสานจากหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นมีการนำไปปฏิบัติมากที่สุดจำนวน 9 คนคิดเป็นร้อยละ 42.9 รองลงมาคือการได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการขยายพันธุ์หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองเพื่อใช้ในพื้นที่ของตนเองและชุมชนมีการนำมาปฏิบัติจำนวน 8 คนคิดเป็นร้อยละ 38.1 การได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านการนำต้นกล้าหญ้าแฝกพื้นเมืองไปปลูกในแปลงเกษตรของเกษตรกรมีการนำไปปฏิบัติน้อยที่สุดจำนวน 4 คนคิดเป็นร้อยละ 19.0 ตามลำดับ หลังการเข้าร่วมโครงการจากการได้รับการถ่ายทอดความรู้การขยายพันธุ์หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองเพื่อใช้ในพื้นที่ของตนเองและชุมชนจะมีการถูกนำไปปฏิบัติมากที่สุดจำนวน 21 คนคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมาคือการได้รับการถ่ายทอดความรู้ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการปลูกหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองเช่นลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินการทำปุ๋ยหมักอาหารสัตว์ทำเป็นหัตถกรรมเครื่อง จักสานจากหญ้าแฝกและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากกลุ่มตัวอย่างจะมีการนำไปปฏิบัติจำนวน 20 คนคิดเป็นร้อยละ 95.2 และการได้รับการถ่ายทอดความรู้หลังเข้าร่วมโครงการจะมีการกลุ่มตัวอย่างจะมีการนำไปปฏิบัติรองลงมาคือ การนำต้นกล้าหญ้าแฝกพื้นเมืองไปปลูกในแปลงของเกษตร การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมือง และการปลูกหญ้าแฝกในศูนย์การเรียนรู้จำนวน 19 คนคิดเป็นร้อยละ 90.5 ตามลำดับ
- การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองตามภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 1) หญ้าแฝกที่นิยมใช้ปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำและรักษาทรัพยากรธรรมชาติ มี 2 สายพันธุ์คือ ได้แก่ หญ้าแฝกพันธุ์สงขลา3 และพันธุ์ร้อยเอ็ด 2) หญ้าแฝกใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ชาวบ้านนิยมนำมาใช้สำหรับเป็นอาหารสัตว์ 3) หญ้าแฝกใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องที่ชาวบ้านนิยมนำมาทำพืชหมัก
4) ประโยชน์ทางผลิตภัณฑ์หัตถกรรมเครื่องจักสานจากใบหญ้าแฝก 5) ใช้ประโยชน์ทางยามีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราในการเป็นโรคกลากเกลื้อน
- การจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมืองและการใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นใน อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้หญ้าแฝกขึ้นที่สถานีพัฒนาที่ดิน ในศูนย์พัฒนาการเกษตภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอภูสิงห์ โดยมีแปลงสาธิตหญ้าแฝกจำนวน 20 ไร่ โดยเป็นทั้งแปลงสาธิต และเป็นศูนย์การกระจายขยายพันธุ์หญ้าแฝกให้กับเกษตรกรที่มีความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆทางภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ: ศูนย์การเรียนรู้ หญ้าแฝกพันธุ์พื้นเมือง การใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กลุ่มวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการดิน สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2548). คู่มือเรื่องการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการพัฒนาที่ดิน กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. ม.ป.ป. ลักษณะและสมบัติของดินในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ : ชุดดินโคราช. แหล่งที่มา: http://www.ldd.go.th, 24 เมษายน 2559.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2555). ความรู้เรื่องหญ้าแฝกสำหรับเยาวชน หญ้าแฝกดึงน้ำ สร้างดิน. สำนักผู้เชี่ยวชาญ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ. (2553). สถิติพื้นที่ปลูกหญ้า/พืชอาหารสัตว์ และพื้นที่ทุ่งหญ้าสาธารณะ. ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์. แหล่งที่มา: http://www.dld.go.th/nutrition/Service_knowlage/data_stat/data_grass.htm, 11 มิถุนายน 2560.
ราเชนทร์ ถิรพร. ( 2536). การใช้ประโยชน์และการจัดการหญ้าแฝกในการอนุรักษ์น้ำและไนโตรเจนในดิน ภาควิชาพืชไร่นา. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เพ็ญศรี ศรประสิทธิ์, ปรัชญา ปรัชญลักษณ์ และวิโรจน์ วนาสิทธชัยวัฒน์. (2545). การใช้หญ้าแฝกหมักเป็นอาหารหยาบเลี้ยงโครุ่น. รายงานผลงานวิจัยประจำปี 2545 กองอาหารสัตว์กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 225-228.
เพิ่มพูน กีรติกสิกร. (2527). ดินภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย.คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนคร.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.
ภาคภูมิ ตันเตชสาธิต. (2546). อิทธิพลของหญ้าแฝกและพืชคลุมดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติบางประการของชุดดินโพนพิสัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรนุช แหยมแสง. (2554). “การพัฒนาเครื่องมือวัดความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ใน ทุนวิจัยมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารุณี พานิชผล ชิต ยุทธวรวิทย์ และ สมพล ไวปัญญา. (2538). คุณค่าทางโภชนะของหญ้าแฝกหมักที่เติมสารชนิดต่าง ๆ. กองอาหารสัตว์, กรมปศุสัตว์, กรุงเทพฯ.
วินัย บุญกล่ำ. (2548). รูปแบบแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนบ้านห้วยคนทา กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.
สมชัย อนุสนธิ์พรเพิ่ม. ม.ป.ป. หญ้าแฝก : พืชเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ. แหล่งที่มา: http://www.paktho.ac.th/learning/science_new/file2/12-35.htm, 15 มีนาคม 2559.
สันติภาพ ปัญจพรรค์ มงคล ต๊ะอุ่น และ ธิติมา เขียวถุ่ง. (2549). การใช้หญ้าแฝกร่วมกับการจัดการดินและปุ๋ยต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชไร่และเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรที่ดิน.คณะเกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการดิน. ม.ป.ป.ก. โครงการหญ้าแฝกเฉลิมพระเกียรติ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการดิน. ม.ป.ป. ข. เอกสารเผยแพร่ การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
อภันตรี พฤกษ์พงศ์ อรุณ พงษ์กาญจนะ อาทิตย์ สุขเกษม แล กมลาภา วัฒนประพัฒน์. (2548). การใช้น้ำของหญ้าแฝก. เอกสารประกอบภาคนิทรรศการกรมพัฒนาที่ดิน ประจำปี 2548 วันที่ 16-18 มกราคม 2548.
อารี สุวรรณจินดา. (2551). การปลูกหญ้าแฝกในการปรับปรุงดินที่แข็งเป็นดาน เพื่อการปลูกไม้ยืนต้นโดย
ใช้หญ้าแฝกตามแนวพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
เนาวรัตน์ ลิขิตเศรษฐ. (2545). การเรียนรู้กับแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
Cull R.H. H. Hunter and M. Hunter. (2000). Application of vetiver grass technology in off- side pollution control. II. Tolerance of vetiver grass toward high level of herbicides under wetland conditions. pp. 407-410 In Proceeding of the Second International Conference on Vetiver. Office of the Royal Development Projects Board, Bangkok.
Mickhovski, S.B., LPH van Beek, F. (2005). Uprooting of Vetiver grass Uprooting resistance of vetiver Grass (Vetiveria Zizanioides). Plant and Soil. 278 (2): 33-41.
Liu, P., C. Zheng, Y. Lin, F. Luo, X. Lu and D. Yu, (2003). Dynamic state of nutrient contents of Vetiver grass (China Vetiver Workshop).
Liu, P., C. Zheng, Y. Lin, F. Luo, X. Lu and D. Yu. (2003). Study on Digestibility of Nutrient Content of Vetiver Grass. In Proceeding “The Third International Conference on
Vetiver and Exhibition Vetiver and Water”: An Eco-Technology for Water Quality Improvement, October 6-9, 2003. China Agriculture Press, Beijing.
Sai Leung Ng , Qiang Guo Cai, Shu Wan Ding, Kwai Cheong Chau and Jie Qin. (2008). Effects of contour hedgerows on water and soil conservation, crop productivity and nutrient budget for slope farmland in the Three Gorges Region (TGR) of China. Agroforestry Systems. 74 (3): 279-291.
Tsherning K., D.E. Leihner, T.H. Hilger, K.M. Muller-Samann and M.A. El Sharkawy. (1995). Grass Barriers in Cassava Hillside Cultivation : Rooting Patterns and Root Growth Dynamics. Field Crops Research. 43 (3) : 131-140.