ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมการตลาด กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค ณ ตลาดท้องถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคในตลาดท้องถิ่น เขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 390 คน สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออก 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยสถิติพื้นฐาน และส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์เชิงอนุมานด้วยสถิติไค-สแควร์ โดยวิธี Crosstabs ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค โดยพฤติกรรมการใช้บริการเรื่องประเภทของสินค้าและบริการขึ้นอยู่กับอายุของผู้บริโภค ส่วนเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สำหรับความถี่ในเข้ามารับบริการในตลาดขึ้นอยู่กับเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการจับจ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สำหรับผู้ร่วมเดินทางขึ้นอยู่กับอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน นอกจากนี้ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภค โดยพฤติกรรมการใช้บริการเรื่องเวลาในการเดินทางท่องเที่ยวและจับจ่ายใช้สอยขึ้นอยู่กับราคาสินค้าและบริการ ส่วนจำนวนครั้งในการกลับเข้ามารับบริการในตลาดขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ และช่องทางจัดจำหน่าย อีกทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวและจับจ่ายพร้อมกับผู้ร่วมเดินทางขึ้นอยู่กับผลิตภัณฑ์ ราคาสินค้าและบริการและช่องทางจัดจำหน่าย
คำสำคัญ: ลักษณะประชากรศาสตร์ ส่วนประสมทางการตลาด พฤติกรรมการใช้บริการของผู้บริโภคตลาดท้องถิ่น
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ชีวรรณ เจริญสุข. (2547). กลยุทธ์การปรับตัวทางการตลาดของร้านค้าปลีกไทยแบบดั้งเดิม (โชว์ห่วย). (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ธีรเดช ฉายอรุณ. (2559). การวิเคราะห์สองตัวแปร. สืบค้นเมื่อ 22 ก.พ.2559, จาก: http://rlc.nrct.go.th/ewt_dl.php?nid=1158
ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2549). การตลาดบริการ แนวคิดและกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2550). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ: สุวีริยาสาส์น.
มัทวัน กุศลอภิบาล. (2555). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการร้านกาแฟสดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.
วรภัทร เหลืองรุจิวงศ์. (2548). ส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมของลูกค้าในการเข้ารับบริการ สปา กรณีศึกษา ร้านชมพู ภูคา เดอะสปา จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เรณู แสงอาวุธ. (2553). พฤติกรรมการใช้บริการตลาดนัด และปัจจัยทางการตลาด และปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการใช้บริการคลาดนัด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). สุราษฎร์ธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎ สุราษฎร์ธานี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ : ไดมอน อิน บิสสิเน็ต เวิร์ล.
ศุภธร ชีถนอม, ชูลีรัตน์ คงเรือง และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2556). พฤติกรรมการซื้อและทัศนคติของลูกค้าต่อส่วนประสมทางการตลาดร้านค้าปลีกไปรษณีย์พัทลุง. WMS Journal of Management Walailak University 2(2): 38–46.
Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. 10thed. New Jersey: Prentice–Hall, Inc.
Schiffman, Leon G. and Kanuk, Leslie Lazar. (2000). Consumer Behavior. 7thed. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.