สภาพปัญหาการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์(1) เพื่อศึกษาสภาพการปัญหาการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จำแนกตามสถานภาพทางเพศ อายุ การสมรส ประสบการณ์ และหน่วยงานสังกัด ประชากร เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพิษณุโลก รุ่น 8 กลุ่มหนองคาย จำนวนประชากร 64 คน กลุ่มตัวอย่างสุ่มด้วยวิธีการใช้ตารางสุ่ม โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 55 คนเลือกสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.973 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t –test (Independent sample test)และสถิติ F-test (One way Anova) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปัญหาการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา โดยภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากโดยภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงที่สุด คือด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยรองลงมา คือด้านคุณลักษณะของนักศึกษา ด้านความรู้ความสามารถในการทำการศึกษาวิจัยและด้านที่มีระดับความคิดเห็นต่ำที่สุด คือด้านการให้บริการความสะดวกของมหาวิทยาลัย
(2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการปัญหาการศึกษาวิจัยจำแนกตามเพศ อายุ การสมรส ประสบการณ์ และหน่วยงานที่สังกัด โดยภาพรวมพบว่า ผู้ที่มีเพศ อายุ การสมรส ประสบการณ์และหน่วยงานสังกัดที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นของต่อสภาพการปัญหาการศึกษาวิจัยของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผู้มีเพศที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อด้านความรู้ความสามารถในการทำการศึกษาวิจัย ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัย และด้านคุณลักษณะของนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ยกเว้น ด้านการให้บริการความสะดวกของมหาวิทยาลัยไม่แตกต่างกันโดยเพศชายจะมีค่าเฉลี่ยสูงมากกว่าเพศหญิง ผู้มีอายุและประสบการณ์แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน และผู้ที่มีสถานภาพการสมรสแตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการให้บริการความสะดวกของมหาวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผู้มีหน่วยงานสังกัดที่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบรายคู่โดยวิธี LSD พบว่า นักศึกษาที่มีหน่วยงานสังกัดเทศบาลมีสภาพปัญหามาก กว่าสังกัดประถมศึกษาและมัธยมศึกษาแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคู่อื่นๆแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ ทางสถิติ
คำสำคัญ: สภาพปัญหา, การศึกษาวิจัย, ศึกษาศาสตร์
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
กุลธน ธนาพงศธร. (2548). หลักการให้บริการ. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทรงธรรม ธีระกุล. (2547) รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ ของมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา : สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทองเรียน อมรัชกุล. (2525). การบริหารกิจการนิสิต : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
ธนพล ด่านวิวัฒน์วงศ์.(2560) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตภาคเหนือ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2548) การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี สถาบันพระบรมราชชนก โครงการสวัสดิการวิชาการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปวีณ์กร คลังข้อง.(2555) วัฒนธรรมวิจัยของครูในจังหวัดปัตตานี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.
พร พรมมหาราช. (2545) รายงานการวิจัยเรื่องปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภิญโญ สาธร. (2551) หลักบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ
ภารดี อนันต์นาวี. (2558) ศึกษาและเปรียบเทียบการประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2554. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วารสารบริหาร
การศึกษา มศว ปีที่ : 12 ฉบับที่ : 23 เลขหน้า : 98-107 ปี พ.ศ 2558
ไวยวิทย์ มูลทรัพย์. (2555). ค้นจาก https://sites.google.com/site/ kroowaiwai/education- knowledge/laksnakhxngnakwicaythidi:
ศรุตญา ชินรัตน์ และคณะ. (2553) คุณภาพชีวิตการทางานของบุคลากร สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรามคาแหง.
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553) คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร วิทยาลัยราชพฤกษ์. ศูนย์วิจัยและพัฒนา วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุนันทา เลาหนันทน์. การพัฒนาองค์การ กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์, 2551
สมนึก ดีหะสิงห์. (2546). ปัญหาการเรียนการสอนของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิชาเอกธุรกิจศึกษา
ในโรงการความทางวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนทรวิโรฒ กับโรงเรียนพณิชยการเพชรบุรีบริหารธุรกิจ. สารนิพนธ์ธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาธุรกิจศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
McNamara, C. (1999). Basic guidelines to problem solving and decision making. Available HTTP: http//www.authenticityconsulting.com
Robert V. Krejcie and Earyle W.Moorgan.1970 อ้างใน ธีรวุฒิ เอกะกุล, 2543 ค้นจาก http://3.bp.blongsport.com/-