ปัจจัยทางการตลาดและทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซชีวภาพของ ชุมชนตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พงษ์นรินทร์ ปิดจัตุรัส

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซชีวภาพ และเพื่อศึกษาทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซชีวภาพ โดยผู้วิจัย ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากชุมชน ทั้ง 12 หมู่บ้าน ในเขตพื้นที่ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาจำนวน 361 ตัวอย่าง และได้รับแบบสอบถามคืนกลับมา จำนวน 277 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 76.73 โดยสามารถสรุปผลการศึกษาวิจัยได้ดังนี้ 1) ปัจจัยทางการตลาดเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภค (4C’s) จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการของผู้บริโภค (C1) ด้านความสะดวก (C3) และด้านการติดต่อสื่อสาร (C4) มีผลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซชีวภาพของชุมชน (Y) 2) ทัศนคติของชุมชนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ (A1) ด้านความรู้สึก (A2) และด้านพฤติกรรมที่จะแสดงออก (A3) มีผลต่อการตัดสินใจใช้ก๊าซชีวภาพของชุมชน (Y)


คำสำคัญ: ปัจจัยทางการตลาด ทัศนคติ การตัดสินใจ ก๊าซชีวภาพ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กรมการพลังงานทหาร. (2556). พลังงานก๊าซชีวภาพ.วารสารวิชาการศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารกรมการพลังงานทหาร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). วิธีการใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ : ธรรมสาร.
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : วี.พริ้นท์ (1991).
_____________ (2558). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เทศบาลนครแหลมฉบัง. (2556). ก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร.สืบค้นวันที่ 1 มีนาคม 2558
แหล่ง : http://kaonamsub.blogspot.com.
นภดล ณ เชียงใหม่. (2551). ความคิดเห็น และความต้องการในการส่งเสริมการใช้ก๊าซชีวภาพจาก
มูลสุกรของประชาชนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริน จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ :
ยูแอนไอด์ อินเตอร์ มีเดีย.
เบ็ญจมาศ ตอพันดุง. (2554). ปัญหาของโครงการก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์บ้านศิลาทอง ตำบล
สำนักตะคร้อ อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา.รายงานการศึกษาอิสระปริญญา
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิยพงศ์ พงษ์อนันต์. (2554).ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้ประกอบกิจการฟาร์มสุกรในการ
เลือกติดตั้งระบบโคเวอร์ลากูนเพื่อนำก๊าซชีวภาพมาใช้เป็นพลังงานทดแทน.
วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย.(2558). ข้อมูลพื้นฐาน ตำบลบิง อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา.
สืบค้นวันที่ 1 ตุลาคม 2558 แหล่ง: http://oweera.blogspot.com.
สารานุกรมเสรี. (2557). ความเป็นมาของการผลิตก๊าซชีวภาพ.สืบค้นวันที่ 7 มีนาคม 2558
แหล่ง:http://www.ku.ac.th/web2012.wikipedia.org.
องค์การบริหารส่วนตำบลบิง. (2558). เอกสารแผนพัฒนาสามปี พ.ศ.2559-2561.งานงบประมาณ
นโยบายและแผน สำนักงานปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล.
อดุลย์ จาตุรงคกุล และดลยา จาตุรงคกุล. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ :
เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
Pradeep, K. and Aspal, J. (2013). “Break Down of Marketing P’s : A New Evolution, VSRD”,
Internation Journal of Business & Management Research. 1(3).