ปัญหาการประกันภัยความรับผิดทางวิชาชีพ ศึกษากรณีการประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในประเทศไทย การฟ้องร้องสื่อมวลชนสาขาต่างๆ มีอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มที่จะฟ้องร้องกัน มากขึ้น ความผิดทางอาญา ได้แก่ ความผิดฐานหมิ่นประมาท และความผิดทางแพ่ง เรียกร้องให้ผู้ที่ไขข่าวที่ทำให้ผู้อื่นเสียหายต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหาย คู่กรณีส่วนใหญ่เป็นบุคคลสาธารณะที่ได้รับผลกระทบจากการเสนอข้อเท็จจริงดังกล่าว มูลค่าการเรียกร้องทางแพ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นเหตุให้สื่อมวลชนอาจต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายจำนวนสูง การรับผิดในกรณีนี้รวมไปถึงความรับผิดของนายจ้างของสื่อมวลชนอาชีพ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ที่ต้องรับผิดจากการเสนอข้อเท็จจริงของผู้สื่อข่าวที่เป็นลูกจ้างของตนด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ ในความผิดฐานละเมิดผู้อื่น และในทางปฏิบัติผู้เสียหายมักฟ้องร้องนายจ้าง หรือผู้พิมพ์ หรือบรรณาธิการด้วย เนื่องจากเห็นว่ามีความรับผิดชอบร่วมกัน
เมื่อได้มีการวิเคราะห์ถึงปัญหาของการประกันภัยความรับผิดต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการประกันภัยความรับผิดต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนในประเทศไทยยังไม่มีแบบมาตรฐานที่ชัดเจนและถูกต้องตามสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย อีกทั้งยังไม่มีการกำหนดชัดเจนว่าผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนถือเป็นวิชาชีพหรือไม่
ดังนั้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรที่จะมีบทบัญญัติกฎหมายบัญญัติโดยเฉพาะกับสัญญาดังกล่าวโดยเฉพาะในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และควรมีกฎหมายบังคับให้ผู้ประกอบวิชชาชีพสื่อมวลชนนั้นมีใบประกอบวิชาชีพเพื่อให้มีแบบแผนไปในทิศทางเดียวกัน อีกทั้งในประเทศไทยยังไม่มีสัญญาประกันภัยความรับผิดต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนโดยเฉพาะเหมือนประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรที่จะมีสัญญาประกันภัยความรับผิดต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนโดยให้มีการควบคุมสัญญาประกันภัยความรับผิดต่อวิชาชีพทุกแขนงโดยสามารถใช้รวมกันทุกอาชีพไม่แยกวิชาชีพ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยมีการควบคุมและเผยแพร่การประกันภัยความรับผิดเพื่อให้ประชาชนสนใจในการทำประกันภัยความรับผิดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย
คำสำคัญ : ความรับผิด, สื่อมวลชน, ประกันภัย, วิชาชีพ, ค่าเสียหาย
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
จุฑามาศ นิศารัตน์.(2530). กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: กิ่งจันทร์การพิมพ์.
จำปี โสตถิพันธ์. (2539). คำอธิบายหลักกฎหมายนิติกรรมสัญญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
จำรัส เขมะจารุ. (2515). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการประกันภัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2543). ชุดย่อหลักกฎหมายประกันภัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม,
พนารัตน์ เฉลิมวุฒิศักดิ์. (2534). ความรับผิดทางแพ่งเนื่องจากการประกอบวิชาชีพของสถาปนิกและวิศวกรในโครงการก่อสร้าง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตสาขากฎหมายเอกชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรชัย สุนทรพันธุ์. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง (ประเทศไทย.
มุกดา โควหกุล. (2537). การประกันภัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ หจก. สยามเตชั่น-เนอรี่ซัพพลายส์.
วิสาร พันธุนะ และมาลี สุรเชษฐ์. (2532). สถานภาพและการประกอบวิชาชีพกฎหมาย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพกฎหมาย หน่วยที่ 1-7.
สรพล สุขทรรศนีย์. (2533). คำอธิบายกฎหมายลักษณะประกันภัย ศึกษาแบบเรียงมาตรา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมหมาย พุรุนน้อยและคณะ. (2542). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการประกันภัย : การประกันภัยเบ็ดเตล็ด : นนทบุรี : โรงพิพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมคิด บางโม. (2551). กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เอส เค บุ๊คส์.
สิทธิโชค ศรีเจริญ. (2538). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันประกันภัยไทย.
สุธรรม พงศ์สำราญ พึ่งใจ พึ่งพาณิช และวิรัช ณ สงขลา. (2521). หลักการประกันชีวิต. : กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สุธาบดี สิงหเสนี. (2549). ประกันภัยค้ำจุน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2535). รวมคำบรรยายหลักวิชาชีพกฎหมาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริวรรณ วัลลิโภดมม. (2544). การประกันภัยและการจัดการธุรกิจประกันภัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).