การจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน ในเขตตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นในการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชนในเขตตำบลฟ้าหยาดเปรียบเทียบการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งประกอบด้วย เพศ อายุ การศึกษา รายได้อาชีพ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน ในเขตตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธรโดยการวิจัยเชิงปริมาณและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากร คือ ประชาชนที่เป็นหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ตำบลฟ้าหยาด อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร จำนวนทั้งหมด 2,943 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 352 ราย ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) ตามจำนวนครัวเรือนแต่ละหมู่บ้านและแต่ละชั้นภูมิสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ตอบแบบสอบถาม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics) โดยการแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานการวิจัยโดยใช้สถิติ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หัวหน้าครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 186 คน มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จำนวน 121 คน การศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวน 168 คน รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท จำนวน 178 คน มีอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 156 คนและมีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 4-5 คน จำนวน 120 ครัวเรือน 2) การจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผนการเงินในครัวเรือน มากที่สุด รองลงมาด้านการจัดการออมเงินในครัวเรือน และด้านการจัดการหนี้สินในครัวเรือนของประชาชน ตามลำดับ 3) ผลการเปรียบเทียบการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชน มีความแตกต่างกันจำแนกตามเพศ พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามอายุ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามการศึกษา พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน จำแนกตามรายได้ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำแนกตามอาชีพ พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามจำนวนสมาชิกในครัวเรือน พบว่าไม่มีความแตกต่างกัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชนในเขตตำบลฟ้าหยาด ดังนี้ 1) การจัดการการออม ประชาชนประสบปัญหาด้านรายได้ที่ไม่สามารถหาแหล่งรายได้เพิ่มจากอาชีพหลักที่มีอยู่แล้วจึงส่งผลให้ไม่มีเงินรายได้เหลือเพียงพอที่จะมีการออมในแต่ละเดือน 2) การวางแผนจัดการเงิน ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจในการจัดทำแผนจัดการการเงินในครัวเรือนที่ดี เนื่องจากไม่มีหน่วยงานหรือแหล่งให้ความรู้หรือส่งเสริมการจัดทำแผนอย่างจริงจัง และประชาชนไม่ตระหนักถึงความสำคัญของประโยชน์ในการจัดทำแผนจัดการเงินในครัวเรือน 3) การจัดการหนี้สิน ประชาชนไม่มีการบริหารจัดการรายได้ในแต่ละเดือนซึ่งส่งผลให้ไม่มีเงินเหลือเพื่อชำระหนี้รวมทั้งไม่มีการจัดสรรเงินรายได้ไว้เพื่อชำระหนี้ล่วงหน้าจึงส่งผลให้มีการกู้ยืมเงินใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมหรือจะหารายได้มาชำระหนี้เมื่อใกล้ถึงกำหนดชำระหนี้เท่านั้น ข้อเสนอแนะในการจัดการการเงินในครัวเรือนของประชาชนในเขตตำบลฟ้าหยาด
คือ 1) การจัดการการออม ควรมีการอบรมส่งเสริมอาชีพเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นและให้ความรู้ในด้านการออมเงินเพื่อให้ทุกคนในครัวเรือนมีส่วนร่วมและตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงินในครัวเรือน 2) การวางแผนจัดการเงิน ควรให้มีการให้ความรู้เพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำแผนการรับ จ่ายเงินในครัวเรือนที่มีรูปแบบที่ง่าย เข้าใจและสามารถทำได้ทุกคน พร้อมทั้งให้มีหน่วยงานหรือองค์กรที่สนับสนุนและติดตามผลการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยแนะนำและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง 3) การจัดการหนี้สิน ควรให้มีประเมินหนี้สินในครัวเรือนของตนเองและให้มีหน่วยงานหรือองค์กรให้ความรู้ คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำช่วยเหลือในกรณีที่มีการกู้ยืมเงินจากแหล่งเงินทุนภายนอกที่ดอกเบี้ยสูง
คำสำคัญ : การจัดการการเงิน,ครัวเรือน,ประชาชน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ใจเดียว โกมลเพ็ชร์. (2554). พฤติกรรมการออมเงินของบุคลากรในวิทยาลัยนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฐพงษ์ ท้วมจันทร์. (2555). การศึกษาภาวะหนี้สินและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย(วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ณัฐพล จันมะโน. (2555). ภาวะหนี้สินของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สถานีตำรวจภูธรเชียงของ จังหวัดเชียงราย(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นฤมล อินทโฉม. (2554). ศึกษาผลกระทบต่อภาระหนี้สินของทหารชั้นประทวน สังกัดกรมสนับสนุนกองพลทหารราบที่9 (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พสิษฐ์ โชติวัฒนะกุล. ภาคครัวเรือนภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว. กรุงเทพธุรกิจ. (วารสารออนไลน์). สืบค้น 28 มกราคม 2558. จาก http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/ opinion/jangsibia/20140409/574355/
พัฒนี ทองพึง. (2556). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุ : กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ศริญญา วรานุชิตกุล. (2554). การให้ความหมาย พฤติกรรมและแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการออมเงินของเยาวชน กรณีศึกษา นักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย จังหวัดนครปฐมที่เป็นสมาชิกธนาคารโรงเรียน(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิรินภา กรรพุมมาลย์. (2551). การจัดการเงินในครอบครัว กรณีศึกษาบ้านสามขา ตำบลหัวเสืออำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง(วิทยานิพนธ์คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ศุภวัฒน์ ศุภเมธานนท์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหนี้สินของข้าราชการนายทหารชั้นประทวน สังกัดกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา(วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนเศรษฐกิจมหภาค. (2557). ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกและแนวโน้มปี 2557. วารสารออนไลน์. สืบค้น 27 สิงหาคม 2557. จาก http://www.nesdb.go.th
อรอนงค์ ไชยบุญเรือง. (2552). การวางแผนการเงินส่วนบุคคลของพนักงานธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) สาขาในอำเภอเมืองเชียงใหม่(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Kim, E.J. (2005). Financial Management Assistance Use by the Vulnerable Elderly. 9 (11): 99-111. (Electronic Thesis or Dissertation). Retrieved from https://etd.ohiolink.edu/
Letkiewicz, J.C. (2012). Self-Control, Financial Literacy, and the Financial Behaviors of Young Adults (Dissertation Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of the Ohio State University). Ohio: The Ohio State University.
Son, J. (2012). Factors Related to Choosing between the Internet and a Financial Planner. (Dissertation Degree Doctor of Philosophy in the Graduate School of the Ohio State University). Ohio: The Ohio State University.
Yamane, T. (1973). Statistic an Introductory Analysis. New York: Harper & Row.