การธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี

Main Article Content

ธัญญารัตน์ สุทธิประภา

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง การธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานแบบ t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test (One-Way ANOVA) Correlation และ Regression Analysis


ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 400 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง การศึกษาระดับปริญญาตรี อายุ 36 ปี ขึ้นไป สถานภาพสมรส อายุงาน 5-10 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 20,000 บาท และเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการสายผลิต ปัจจัยที่ส่งผลต่อการธำรงรักษาพนักงาน ภาพรวมความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง และระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน อายุงาน ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานที่แตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ปัจจัยการธำรงรักษาพนักงาน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับสูงมากทิศทางเดียวกัน และปัจจัยการธำรงรักษาพนักงานมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานคือด้านค่าตอบแทน ด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน


ข้อเสนอแนะจากการศึกษาการธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี ผู้บริหารควรให้ความสำคัญด้านบทบาทของหัวหน้างาน/ผู้บังคับบัญชา มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ความสำคัญในการบริหารงานของผู้บังคับบัญชาให้มีภาวะผู้นำเป็นธรรมและชัดเจนต่อพนักงาน จัดโครงสร้างของหน่วยงานให้เอื้อประโยชน์ต่อการทำงาน ด้านโอกาสความก้าวหน้าและการใช้ศักยภาพ มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการเปิดโอกาสให้พนักงานมีการเติบโตตามสายงานให้โอกาสพนักงานเก่า เมื่อมีพนักงานลาออก และมีการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ด้านการฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพของพนักงาน มีความสำคัญอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารควรให้ความสำคัญในการพัฒนาการทำงานของพนักงานในสายงานอาชีพ อย่างเป็นระบบมีระบบการสอนงานระบบพี่เลี้ยงในการทำงาน ด้านวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง ผู้บริหารควรให้ความสำคัญเมื่อมีการรับพนักงานใหม่เข้ามาองค์การต้องจัดให้มีการชี้แจงและอบรม เรื่องวัฒนธรรมองค์การรวมถึงมีการให้ความรู้แก่พนักงานให้ตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยในการทำงานโดยเน้นมาตรการป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ด้านค่าตอบแทน มีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง ผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการกำหนดค่าตอบแทนที่เป็นธรรมสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และเหมาะสมกับปริมาณงานที่รับผิดชอบ ด้านภาพรวมปัจจัยการธำรงรักษาพนักงาน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ภาพรวมเฉลี่ยสูงมากทิศทางเดียวกันผู้บริหารควรให้ความสำคัญ โดยจัดให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาได้มีการทำกิจกรรม เพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอระหว่างหัวหน้างาน และเพื่อนร่วมงาน 


คำสำคัญ :  ปัจจัยที่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

กัญญนันท์ ภัทร์สรณ์สิริ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร:กรณีศึกษาสำหรับ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน. สาขาวิชาศึกษาทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน.
จีรพันธ์ ตันมณี. (2554). การธำรงรักษาพนักงาน.บริษัท ดาสโก้ จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ธันย์ชนก ศรีสวัสดิ์. (2556). แนวทางปฏิบัติในการธำรงรักษาบุคลากรที่มีสมรรถนะสูง:กรณีศึกษาสำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.ปีที่ 24 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-
กันยายน 2556. หน้าที่ 47-58.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ หจก.สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี-สถาบันวิจัย
และพัฒนาธุรกิจ.
ธีระวุฒิ ตรีประสิทธิ์ชัย. (2557). ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการรักษา พนักงานให้คงอยู่กับองค์การในอุตสาหกรรมการโรงแรมระดับ5ดาวในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของ
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว.บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พรรัตน์ แสดงหาญ. (2558). การธำรงรักษาคนเก่งในองค์การ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.ปีที่ 33 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2556. หน้าที่ 33-38.
ราตรี ปรางทอง. (2558). แนวทางการธำรงรักษาพนักงานของ บริษัท เอ็นเอสแก๊สแอลพีจีจำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
รัตนาภรณ์ บุญนุช. (2555). การพัฒนาและฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงาน: กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต1(ภาคกลาง) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วันเพ็ญ เพ็ชรรัตน์ พรรัตน์ แสดงหาญ และอธิพล เครือปอง. (2556). การธำรงรักษาและการคงอยู่ของคนเก่ง ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งหนึ่งจังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา.
ปีที่ 2 ฉบับที่2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2556. หน้าที่ 59-70.
ศุภกิตต์ กิจประพฤทธิ์กุล. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน.บริษัท แบงคอก รีซอร์ส เซ็นเตอร์ จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.