ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในโรงเรียน 2)เปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ในโรงเรียนโดยจำแนกตาม ตำแหน่ง ประสบการณ์การในการทำงานและขนาดโรงเรียนและ 3)ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบชั้นภูมิ ประกอบด้วย ผู้บริหาร 140 คน และครู 198 คน รวมเป็น 338 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test, F-test (one – way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อ การบริหารการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
- การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำแนกตามตำแหน่งพบว่าตำแหน่งผู้บริหารศึกษาและครูไม่แตกต่างกันและเมื่อเปรียบเทียบประสบการณ์การทำงานพบว่าทุกคู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนพบว่าทุกคู่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 มีเพียงโรงเรียนขนาดเล็กกับโรงเรียนขนาดกลางไม่แตกต่างกัน
- ข้อเสนอแนะแนวทางสภาพและปัญหาการดำเนินการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 พบว่าโดยรวมและรายด้านบางข้ออยู่ในระดับมากยังไม่อยู่ในระดับมากที่สุดโรงเรียนจึงควรสนับสนุนเกี่ยวกับงานระบบสารสนเทศให้มีความสำคัญยิ่งขึ้นจัดให้มีระบบสารสนเทศที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การตรวจสอบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ การนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้อย่างมีระบบ ควรจัดตารางการให้บริการคอมพิวเตอร์แก่บุคลากร/นักเรียนสำหรับสืบค้นและผลิตสื่อการเรียนการสอน จัดอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้งาน จัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่มีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปีให้ได้รับความรู้มากยิ่งขึ้นและสนับสนุนให้โรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลางนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานเพื่อให้การบริหารการศึกษามีประสิทธิภาพเท่าเทียมโรงเรียนขนาดใหญ่หรือทุกสถานศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากัน
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
เกรียงไกร จันทโรทัย. (2542). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบสารสนเทศของ สำนักงานศึกษาธิการอำเภอในเขตการศึกษา 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.
โกเมศ กลั่นสมจิตต์ และเจน แผลงเดชา. (2552). สรุปผลการตรวจราชการตามนโยบาย เร่งด่วน 3 ประเด็นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องการทราบ. สืบค้น 10 ตุลาคม 2557.
จาก : http:// www.inspec10.moe.go.th/refrom.doc.
ชินกรณ์ แก้วรักษา.(2554). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
ประทีป เมธุณวุฒิ. (2544). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิพวรรณ นนทเภท. (2559). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
เพลินพิศ หยาดผกา. (2548). การจัดระบบสารสนเทศของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สมพร ประทุมมาลย์ สุรางค์ เมรานนท์ และอนงค์ อนันตริยเวช. (2552). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ เพื่อการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาลจังหวัดสระบุรี สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุทัศน์ กำยาน. (2543). “การจัดการระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏกำแพงเพชร.
สุพรรณิการ์ พงศ์ผาสุก. (2550). การบวนการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเทศบาล จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
อัญชลี ทาทอง. ( 2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถนศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดเทศบาลในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(2), 296-308
อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2554). ยุทธศาสตร์การบริหารยุคโลกาภิวัตน์. ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Cardinale Otto. (1982). On a Generic Management Information System Model with Application to Public School System. Dissertation Abstracts International, 42(8), 1517-A.
Cassidy, T. J. (2005). Data for Decisions in Developing Education Systems an Analysis of a Computer-based Education Management Information Systems in the Arab
Republic of Egypt, Dissertation Abstracts International, 51(09), 2936-A
Gwaltney Robert A. (1987). A model management information system for and institution of higher education. Dissertation Abstract International. 43(5), 1367-A