เรือมอันเรคอนแชร์โต สำหรับกีต้าร์ไฟฟ้าและวงออร์เคสตรา

Main Article Content

รณกร วัฒนบัวคอม

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์บทประพันธ์ เรือมอันเรคอนแชร์โต สำหรับกีต้าร์ไฟฟ้าและ วงออร์เคสตรา ได้รับแรงบัลดาลใจจากทำนองเพลงประกอบการละเล่นเรือมอันเร ซึ่งเป็นทำนอง ดั้งเดิมของการละเล่นเรือมอันเร ประกอบด้วย 3 ทำนอง คือ ทำนองจืงมูย ทำนองมลบโดง และ ทำนองจืงปีร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ในรูปแบบคอนแชร์โตสำหรับกีตาร์ไฟฟ้า และวงออร์เคสตรา และเพื่อศึกษาแนวทางและวิธีการประพันธ์โดยใช้แนวคิดทางดนตรีตะวันตก ร่วมกับดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้ สังคีตลักษณ์ที่ใช้ในบทประพันธ์ ประกอบด้วย สังคีตลักษณ์โซนาตา สังคีตลักษณ์สองตอน และสังคีตลักษณ์รอนโด ในรูปแบบคอนแชร์โต เพื่อสร้างสรรค์บทประพันธ์ เพลงในลีลาของดนตรีตะวันตกผสมผสานกับดนตรีพื้นบ้านอีสานใต้


                   ผู้ประพันธ์วิเคราะห์บทประพันธ์เรือมอันเรคอนแชร์โต สำหรับกีต้าร์ไฟฟ้าและวงออร์เคสตรา กำหนดการวิเคราะห์ออกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่ โครงสร้างของสังคีตลักษณ์ทำนอง และการพัฒนาทำนอง ลักษณะจังหวะ การออเคสเตรชั่น และเทคนิคการบรรเลง  ผู้ประพันธ์ใช้เทคนิคในการประพันธ์ 7 รูปแบบ คือ เทคนิคการแปร เทคนิคการซ้ำ เทคนิคพลิกกลับโน้ต เทคนิคการเลื่อนเสียง เทคนิคซีเควนซ์ เทคนิคการเลียน และเทคนิค การปรับโน้ต สำหรับการบรรเลงกีต้าร์ไฟฟ้ามีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อเลียนเทคนิคของตรัว ได้แก่ การสไลด์ ฮัมเมอร์ออน และพูลออฟ รวมทั้งใช้เอฟเฟคกีต้าร์ประกอบการบรรเลง ได้แก่ เสียงคลีน เสียงโอเวอร์ไดร์ผสมดีเลย์ เสียงเฟซเซอร์ และเสียงดิสทอร์ชั่น เพื่อใช้เปลี่ยนเสียงของกีต้าร์ไฟฟ้า และเป็นการเพิ่มสีสันให้กับบทประพันธ์


คำสำคัญ : เรือมอันเร, คอนแชร์โต, กีต้าร์ไฟฟ้า,วงออร์เคสตรา

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

โกวิทย์ ขันธศิริ. (2550). ดุริยางคศิลป์ตะวันตก (เบื้องต้น). กรุงเทพฯ :บริษัท วี. พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร. (2552). การประพันธ์เพลงร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2555). สังคีตนิยมความซาบซึ้งในดนตรีตะวันตก. กรุงเทพฯ : แอคทีฟ พริ้น จำกัด.
ณัชชา โสคติยานุรักษ์.(2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
ณัชชา พันธ์เจริญ.(2551). ทฤษฎีดนตรี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด
________.(2553). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด .
________. (2556). การแต่งทำนองสอดประสาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
นงลักษณ์ ประสพสุข. (2531). การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพร ด่านสกุล.(2441). คอร์ดและการใช้คอร์ดระดับต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ปิยพันธ์ แสนทวีสุข. (2546). การประพันธ์เพลง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ลัญฉนะวัต นิมมานรตนกุล. (2551). หลักการประพันธ์เพลง. นนทบุรี : นิมมานรตนกุล , 2551.
ภัคกวินทร์ จันทร์ทอง. (2547). พัฒนาการเรือมอันเร. ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา ศิริชยาพร และเอกชัย กรายอานนท์. (2547). คู่มือกีต้าร์และเบสไฟฟ้า. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ด ยูเคชั่นจำกัด.
วิทยา วรมิตร. (2548). การวิเคราะห์ดนตรี ดนตรีประกอบภาพยนต์เรื่อง สตาร์ วอร์. คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น.(2559). ดนตรีศตวรรษที่ 20 แนวคิดพื้นฐานทฤษฎีเซต. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สุภนิดา พรเอี่ยมมงคล.(2549). ดนตรีในการละเล่นเรือมอันเรจังหวัดสุรินทร์. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล.