การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

Main Article Content

กัญชพร นาห่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตาม วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 2) หาข้อเสนอแนะการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการประพฤติปฏิบัติตน ด้านการร่วมมือกับผู้อื่น และด้านการใช้ข้อมูลข่าวสาร


                  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน 329 คน  ได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมี 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์การทดสอบที (t-test) การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (one–way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ตามวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffé's method)


ผลการวิจัยพบว่า


  1. การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

  2. ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จำแนกตามประสบการณ์ทำงาน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนประสบการณ์ทำงานน้อยกว่า 10 ปี กับประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี ไม่แตกต่างกัน และจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ พบว่า ความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนขนาดกลางกับโรงเรียนขนาดใหญ่ ไม่แตกต่างกัน

         3.  ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28  ในแต่ละด้าน คือ ด้านการพัฒนาตนเอง ควรเข้าร่วมการอบรม สัมมนา แสวงหาความรู้เพิ่มเติม และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นเพื่อเป็นการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ด้านการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ควรส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และมีการสอนซ่อมเสริมให้กับผู้เรียนที่ไม่ผ่าน  ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน มีสื่อและกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ด้านการประพฤติปฏิบัติตน ควรประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี และอยู่ในศีลธรรมอันดีงานตามหลักพระพุทธศาสนา  ด้านการร่วมมือกับผู้อื่น ควรมีการร่วมมือกับชุมชน ผู้ปกครอง และภาคเอกชนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการใช้ข้อมูลข่าวสาร  ควรมีการติดตามข้อมูลข่าวสารทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

เซ็น แก้วยศ. (2551). การพัฒนาโรงเรียนจากภายใน. สืบค้น 13 มกราคม 2558. จาก http://www.moe.go.th/
ธนภัทร วงค์อาษา. (2557). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู โรงเรียนวังจันทร์วิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือและมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
ประพันธ์ จูมคำมูล. (2543). ครูมืออาชีพตาม พ.ร.บ. 2542. วารสารวิชาการ, 3(2), 23-24.
พิมพ์พรรณ สุภาณิชย์. (2552). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท.: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ภานลิน กลิ่นวงศ์. (2556). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของครูในเครือข่ายกรมหลวงชุมพรฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรนิษฐา ชินทวัน. (2556). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วารี พันสวัสดิ์. (2556). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของโรงเรียนวัดห้วยโป่ง(จันทร์ราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. 2553. สาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษา. สืบค้น 18 ธันวาคม 2557. จาก http://www.moe.go.th/wijai/teacher.htm
สนทยา พิมพันธ์. (2555). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และคณะ. (2545). การพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูปการศึกษา.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). คู่มือการประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
______ . (2549). คู่มือการประกอบอาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักวิชาการและมาตรฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2555. แนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้น 22 พฤศจิกายน 2557. จากhttp://lifeskills.obec.go.th
สุรศักดิ์ เตโช. (2553). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูสังกัดเทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอมอร ดวงจันทร์โชติ. (2555). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).
ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยบูรพา.
เอมอร อิ่มถาวร. (2556). การปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของพนักงานครูสังกัดเทศบาลเมืองท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). ม.ป.ท. : มหาวิทยาลัยบูรพา.
Andrew, C.P., Laura, M.D., Michael, S.G., Kwang,S.Y., & Beatrice, F.B. (2002). Effects of professional development on teachers instruction : Results from a three-year longitudinal study. Educational Evaluation and Policy Analysis, 24(2), 81-112.
Ferraro, J.M. (2000). Reflective practice and professional development. New York: McGraw-Hill.
Grootenber, Peter. (2005). Self - Directed Teacher Professional Development. Retrieved April 21, 2005. from : http://www. edu.Au/99601
Pill, Amanda. (2007). Models of Professional Development in the Education and Practice of New Teacher in Higher Education. Retrieved October 16, 2007. from: http://www. Eric.eg.gov/ERICWebPortal/Home.portal.
Yamane, Taro. (1973). Statistics, An Introductory Analysis. 2nd Ed., New York: Harper and Row.
Zuljan, Milena Valenic. (2007). Students’ Conceptions of Knowledge, the Role of the Teacher and Learner as Important Factors in a Didactic School Reform. np: University of Ljubljana, Slovenia