ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

นันทวดี ทองอ่อน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สองกลุ่ม (นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับท้ายและนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับต้น) ในปัจจัยด้านผู้เรียน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนประจำจังหวัดแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 300 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างในการตอบแบบสอบถามโดยการคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสูตรการหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างแบบทราบจำนวนประชากร โดยกำหนดความเชื่อมั่นที่ 95% ของ Yamane (1967) มีเกณฑ์ในการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Independent sample t-test


                ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลจากปัจจัยด้านผู้เรียน ด้านครอบครัว และด้านสภาพแวดล้อมทางเรียนส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มในทุกด้าน และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างนักเรียนทั้งสองกลุ่มถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนพบว่า ปัจจัยด้านผู้เรียนและด้านครอบครัวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
นคร เหมนาค. (2556). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชันมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี.” วารสารการศึกษา และการพัฒนาสังคม. 9 (1): 31-43.
บุศรินทร์ มังกรแก้ว. (2553). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนมาลาสวรรค์พิทยา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประณต เค้าฉิม. (2557). “ปัจจัยด้านพฤติกรรมการเรียนและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.” วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 12 (1): 61-62.
ปริยทิพย์ บุญคง. (2546). การศึกษาปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต การวิจัยและสถิติทางการศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัญญา กันเกตุ. (2558). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ระยองเขต 2.” วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม. 11 (1): 220-230.
พวงผกา คันธรัตน์. (2558). ปัจจัยภายในโรงเรียนที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพ็ญพร ปุกหุต. (2558). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี กรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.” วารสารนานาชาตมหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขามนุษยศาสตร์และสังคมมศาสตร์. 5 (3): 53-68.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การกวดวิชาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การค้าของคุรุสภา
เยาวลักษณ์ ศรีสุนนท์. (2552). “ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1.” วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15: 207-213.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศรีสฤษดิ์วงศ์.
ศศิธร ทิมโพธิ์กลาง. (2558). “ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ.” วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 4 (1): 50-60.
สรายุทธ เพ็ชรซีก. (2553). ปัจจัยทางครอบครัวที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น: ศึกษากรณีโรงเรียนมีนประสาทวิทยา เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สุจิตรา เถาว์โท. (2555). องค์ประกอบที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29: การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุพัตรา ผลรัตนไพบูลย์. (2550). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี.” วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 8 (3): 112-120.
สุรวิทย์ พลมณี. (2558). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ.” วารสารบริหารการศึกษา มศว. 12 (23): 60-70.
อัจฉรา บุญสุข. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
Yamane, T. (1967). Statistics, An introductory analysis. 2nd Edition. New York: Harper and Row.