การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับ นักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัดกำปงธม

Main Article Content

Chan Phearum

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม สร้างทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล จังหวัด กำปงธม 2)เพื่อศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม และ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนอาชีวศึกษา ที่ได้รับการฝึกอบรมโดยใช้หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม


              กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนอาชีวศึกษา สาขาเกษตรศาสตร์ปีที่ 1 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 - 2559 ของวิทยาลัยกำปงเฌอเตียล ตำบลซ็อมโบร์ อำเภอปราสาทซ็อมโบร์ จังหวัดกำปงธม โดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มจำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน รวม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม สร้างทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล มีจำนวน 3 หน่วย ใช้เวลาในการฝึกอบรมจำนวน18 ชั่วโมง แบบสังเกตทักษะการทำงานเป็นทีม จำนวน 6 ด้าน มี 30 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ก่อนและหลังการฝึกอบรมมีจำนวน 18 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


              ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมสำหรับนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยกำปงเฌอเตียล มีความเหมาะสมมากซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และมีค่าดัชนีเฉลี่ยความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 แบบสังเกตทักษะการทำงานเป็นทีมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังการฝึกอบรมมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระว่าง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.31-0.48 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25-0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.71

  2.   ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรม

                         2.1 ด้านทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนจากแบบสังเกตทักษะการทำงานเป็นทีมอยู่ในระดับมาก


                        2.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียนอาชีวศึกษา สาขาเกษตรศาสตร์ ปีที่ 1ที่รับการอบรมโดยหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


  1. นักเรียนอาชีวศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์มีความพึงพอใจ ต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ชวลิต ชูกำแพง.(2551). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพ ฯ : เอ็กซ์เปอร์เน็ท.
ดวงนภา มกรานุรักษ์.(2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า พ.ศ.2554-2564. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ทิศนา แขมมณี.(2557). ศาสตร์การสอน (พิมพ์ครั้งที่2). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร
ธงชัย สันติวงษ์. (2540). พฤติกรรมองค์การ : การศึกษาการบริหารพฤติกรรมองค์การเชิงบริหาร.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
วราภรณ์ ประพงษ์ (2555). ผลการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่มภายในชั้นเรียนร่วมกันเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชากฎหมายพาณิชย์ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชย์การเชียงราย.วิจัยด้านการเรียนการสอน วิทยาลัยอาชีวศึกษาพณิชย์การเชียงราย.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543).กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
วุฒิพงษ์ ทองก้อน.(2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะกาiประกันคุณภาพสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.
สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยบูรพา
สมใจ กงเติม. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสอนคิดวิเคราะห์ สำรับครูผู้สอนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
(ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
สมใจ เพียรประสิทธ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเติมเต็มช่องว่างสมรรถนะหลักสูตรรายวิชาชีพช่างยนต์. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต).
สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
สมชาย พงศ์วิลาวัณย์.(2551).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเรื่องการส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับครูผู้สอนระดับช่วงชั้นที่ 3-4. (วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
สาขาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.
สมชาติ กิจยรรยง. (2540). เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาคนและองค์การ. กรุงเทพมหานคร :ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สุนีย์ ภู่พันธ์.(2546). แนวคิดพื้นฐาน การสร้างและการพัฒนาหลักสูตร. เชียงใหม่ : The Knowledge Centre.
ฮ่อง จวนนารุง (2014).รายงานในสัมมนาการพัฒนาการศึกษาอาชีวศึกษาในระดับมัธยมต้อนปลาย.
http://www.moeys.gov.kh/kh/minister-page/580.html#.U6-OB0DfPaEMinistry of Education. (2010). Vocational education of China. Retrieved 5 February 2014, from
http://www.moe.edu.cn/english/vocational_v.htm
Anderson, J.D.(1997). Leadership Training Initiatives for Community College Administrators : A Focus Synthesis of the Literature. Community College Review.
Mendoxa, Ryan. (2004). Helping elementary school teachers identify and address depressive symptoms in aggressive male students : The development and evaluation of a workshop
curriculum. Dissertation abstracts international.
Neang, Sopheana.(2016). An Evaluation Of High School Curriculum For Vocational Education Of Kampong Chheuteal High School, Cambodia (Revised 2012). Thesis of master degree of Educational on Curriculum and Instruction. BuraphaUniversity.
UNESCO. (2002). Technical and vocational education and training for the twenty-first Century. Retrieved 21 December 2013 from http://www.unesco.org/education-5/02/2014/
Rosen, B., S. Furst. and R. Blackburn. (2006). Training for Virtual Teams : An Investigation of Current Practices and Future Needs. Human Resource Management. Summer.
Saylor, J.G., Alexander, W.M. and Lewis. (1981) .Curriculum planning for better teaching and learning. (4th ed.). New York: Holt McDougal.
Taba H.(1962). Curriculum Development: Theory and Practices. New York: Harcourt Brace, World.
The ASEAN Secretariat. (2009). ASEAN community 2009-2015. Retrieved10 January 2014, from http://www.asean.org.
The world bank.(2012). Matching Aspirations; Skills for implementing Cambodia’s Growth Strategy.