กรณีศึกษาปัญหาทะเบียนผู้แทนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามพระราชบัญญัติ จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในปัญหาทางทะเบียนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 2. เพื่อศึกษาหาทางป้องกันกันปัญหาทางทะเบียนของของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และ 3. เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในทางสังคมต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระดับประเทศอย่างถูกต้อง เป็นธรรม และอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ได้กับทุกหมู่บ้านจัดสรรทั่วประเทศ  โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้จัดสรรที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินหมู่บ้านจัดสรร ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี โดยผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกกับเจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐ ผู้จัดสรรที่ดินและผู้ซื้อที่ดินจัดสรร


ผลการวิจัยพบว่า ในการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี นั้น ผู้จัดสรรที่ดิน และผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เป็นสิ่งสำคัญมาก ในการทำความเข้าใจขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพื่อสามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย และขนาดของจังหวัด ขนาดของเมืองขนาดใหญ่ สภาพเศรษฐกิจ ก็เป็นปัจจัยหลักในการขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร


ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรบางส่วนเห็นประโยชน์ในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จะทำให้การบริหารจัดการภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรรดีขึ้น แต่หลายโครงการหมู่บ้านจัดสรรยังไม่ได้ทำการจดทะเบียนฯเนื่องจากผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหลายคนยังไม่ทราบถึงรายละเอียดหรือประโยชน์ของการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นภาระของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรในการต้องจ่ายค่าบำรุงสาธารณูปโภคเองหรือบริหารจัดการภายในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ส่วนประเด็นการศึกษาหาทางป้องกันกันปัญหาทางทะเบียนของของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 นั้น คือการให้ความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 แก่ผู้จัดสรรที่ดิน และผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ให้เขาใจถึงผลดี และผลเสียของการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้พิจารณาถึงประโยชน์ และสิ่งที่จะเสียประโยชน์ตามมาในการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร แล้วให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเกิดการยอมรับ เกิดจิตสาธารณะในการต้องการดูแลหรือเป็นส่วนหนึ่งของหมู่บ้านจัดสรร  ดังนั้น จึงขอเสนอแนะการให้ความรู้ และขั้นตอน กระบวนการในการจัดตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ทั้งผู้จัดสรรที่ดิน และผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และการแก้ไขกฎหมายให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้สะดวกยิ่งขึ้น


โดยสรุป การเข้าใจพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 เพื่อสามารถดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย


คำสำคัญ : นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร  ผู้จัดสรรที่ดิน  ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ภชฤทธิ์ นิลสนิท. (2552). “สิทธิในการไม่สมาคม: ศึกษากรณีการลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห: กรุงเทพฯ. เล่ม 2 ปี 2552 หน้า 129-147.
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2546). ความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซิวิลลอว์และคอมมอนลอว์, กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
วิชัย ตันติกุลานันท์. (2543). คำอธิบายกฎหมายการจัดสรรที่ดิน. กรุงเทพฯ: หจก.พิมพ์อักษร
ธานี วรภัทร์. (2553). หลักการพื้นฐานระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นคร มุธุศรี. (2547). คู่มือสำหรับนักบริหารอาคารและหมู่บ้านจัดสรร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: บริษัท พริ้นต์โพร จำกัด.
ไพจิตร สวัสดิการ. (2544). ระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย, กรุงเทพฯ: หจก.โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงศ์. (2557). การดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543: กรณีศึกษาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ. วิจัย สาขานิติศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. หน้า 41 - 44.
ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงศ์. (2555). ปัญหาของพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 และข้อเสนอในการแก้ไขกฎหมาย. นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม ดุลพาห: กรุงเทพฯ. เล่ม 2 ปี 2555 หน้า 129-159.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรมหน้า.
พจน์ สุขมาก. (2555). นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรชัย ธนากิจพาณิชย์. (2547). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไพจิตร สวัสดิสาร (2544), ระเบียบวิจัยทางกฎหมาย, กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์
ไพโรจน์ อาจรักษา. (2549). คำอธิบายกฎหมายการจัดสรรที่ดิน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
พินิจ เอี่ยมผา. (2545). ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กรณีการหลุดพ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคของผู้จัดสรรที่ดิน. เอกสารการวิจัย ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาสกร ชุณอุไร. (2547). พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วาสิทธิ์ นนทสิน. (2549). การบังคับใช้กฎหมายการจัดสรรที่ดิน : ศึกษากรณีปัญหาการจัดตั้งและบริหารนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร. วิทยานิพนธ์ สาขานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชัย ตันติกุลานันท์. (2543). คำอธิบายกฎหมายการจัดสรรที่ดิน. กรุงเทพฯ: หจก.พิมพ์อักษร
สมชาติ อุบลชาติ. (2540). การดูแลรักษาสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ศึกษากรณีการแก้ปัญหาด้วยนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร. เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. (2555). วิทยาการวิจัยทางนิติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2552). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานที่ดินจังหวัดนนทบุรี. (2543). คู่มือการจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน.
Black, Henry Cambell. (1979). Black’s Law Dictionary, 5thed., USA.:West Publishing Co.
Diane Chappelle. (2006). Land Law, 7th ed., Pearson Education Limited., England: New York: Pearson/Longman.
J. Myron Jacobstein and Roy M. Mersky. (2002). Fundamentals of Legal Research, 8th ed. Foundation Press.
Mackenzie, Judith-Anne. (2002). Textbook on land law, 9th ed., New York: Oxford University.