ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อณัญญา ลาลุน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงตามตัวแปรเพศ  อายุ  ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 200 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (accidental sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถามการได้รับข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ  แบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง  แบบสอบถามเจตคติของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง  และแบบสอบถามพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) ถ้าพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยการเปรียบเทียบพหุคูณแบบ LSD


ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ในระดับพอใช้ และผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้ต่างกันระยะเวลาที่ป่วยมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


คำสำคัญ : พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, โรคความดันโลหิตสูง, ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

Article Details

บท
Research Articles (บทความวิจัย)

References

ปัญญา จิตต์พูลกุศล. (2551). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมแรงดันเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับการรักษาต่อเนื่องที่คลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2(3) ฉบับเสริม 6: 1336-1343.
ปราณี ทู้ไพเราะ. (2553). การพยาบาลอายุรศาสตร์ 1. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.หจก.เอ็นพีเพรส. กรุงเทพฯ.
ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21.พะเยา. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.
พรสุข หุ่นนิรันดร์. (2545). เอกสารคำสอนวิชา สข 531 พฤติกรรมศาสตร์ทางสุขศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
บุตษรา นาคลำภา. (2546). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในตำบลโตนด อำเภอโคกสูง จังหวัดนครราชสีมา.(ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คหกรรมศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน).กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทิพย์กมล อิสลาม. (2557).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุไทย อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 8(1):1-15.
วรวุฒิ พัฒนโภครัตนา.(2558).ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11. 29 (1):145-153.
วาสนา ครุฑเมือง. (2547). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วาสนา ณ น่าน.(2552). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเลิดสิน.(ปริญญานิพนธ์ วท.ม.สุขศึกษา). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินรวิโรฒ.
ศุภวรรณ ป้อมจันทร์. (2551). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลไพศาลลี จังหวัดนครสวรรค์.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่). เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริอร สินธุ และสุพัตรา บัวที.(2553).บทความวิชาการ การศึกษาต่อเนื่อง สาขาพยาบาลศาสตร์ เล่มที่ 10 การพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง.กรุงเทพฯ.ศิริยอดการพิมพ์.
อมร ไกรดิษฐ์และคณะ. (2548). พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในเขตจังหวัดสงขลา. (ทุนสนับสนุนจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข).สงขลา.
อารักขา ใจธรรม. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด.
(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต).ขอนแก่น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น.