ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 31
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยเชิงสาเหตุและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 และ (2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบรูปแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบวัดความถนัดทางภาษาอังกฤษ แบบทดสอบวัดความรู้พื้นฐานเดิม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ แบบวัดเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบวัดความตั้งใจเรียน แบบวัดอัตมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง แบบวัดคุณภาพการสอนของครู และแบบวัดความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง ซึ่งแบบวัดมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .85, .90, .85, .85, .83, .90, .89, .89 และ .81 ตามลำดับ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการศึกษา พบว่า
- ระดับปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ทุกปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.34 รองลงมาคือ อัตมโนทัศน์เกี่ยวกับตนเอง แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความตั้งใจเรียน และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32,3.19, 3.18 และ 3.04 ตามลำดับ ความถนัดทางภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.03 อยู่ในระดับสูง ความรู้พื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.01 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง คุณภาพการสอนของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 อยู่ในระดับค่อนข้างสูง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.32 ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ได้แก่ ความถนัดทางภาษา และความเอาใจใส่ของผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .141- .228 และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .127 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .123 และความรู้พื้นฐานเดิม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ .121
- โมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า Chi-square = 13.50, p = 1.00, df = 19, GFI = .99, AGFI = .98 และ RMSEA = .00
Article Details
1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึกษา แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ครบถ้วนสมบูรณ์
References
ใฝ่สัมฤทธิ์ ความตั้งใจเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
และเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
จิตติพร เชื้อบัณฑิต. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
หนองบัวลำภู เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุทธภูมิ ดอนเถื่อน. (2550). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วนิดา ดีแป้น. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยโดยการ
วิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
สุทิน กองเงิน. (2547). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชา
การวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2558). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน : O-Net.
กรุงเทพฯ : สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
Carroll, John B. (1963). A Model of School Learning. Teacher College Record. Vol. 64 No. 8 :
723-733.